fbpx
11ส.ค.

สำหรับสิทธิ์วันลางานของพนักงาน…
📌 ลาป่วยได้ตามที่ป่วยจริง โดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วันต่อปี แต่ถ้าลางานติดต่อกัน 3 วันทำงานขึ้นไป บริษัทมีสิทธิ์ขอใบรับรองแพทย์
.
📌 ลากิจได้ไม่น้อยกว่า 3 วันต่อปี หรืออาจมากกว่า ขึ้นอยู่กับนโยบายบริษัท และได้รับค่าจ้างตามปกติ
.
👉 เมื่อสิทธิ์การลางานเป็นของเราตามกฎหมายแล้ว จะใช้ให้ครบเลยหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับเราครับ แล้วมีผลต่อการประเมินมากแค่ไหนนั้น แต่ละบริษัทก็มีนโยบายต่างกันไป บางบริษัทหรือเฉพาะในบางตำแหน่งงานอาจไม่นำจำนวนวันลางานมาประเมิน แต่ดูที่ผลงานอย่างเดียวก็เป็นได้ครับ
.
แม้สิทธิ์จะเป็นของเรา แต่การลางานเยอะเกินไปแล้วส่งผลกระทบกับงาน บริษัทก็ย่อมมีสิทธิ์นำส่วนนี้มาประเมิน เพราะหากเกิดเหตุการณ์ที่ว่า คนลางานครบสิทธิ์กับคนลาน้อยหรือไม่ลาเลย มีผลการประเมินเท่า ๆ กัน แบบนี้ใคร ๆ ก็คงหาเรื่องลางานให้ครบ โดยไม่สนใจอะไร แล้วบริษัทจะจูงใจพนักงานได้อย่างไรล่ะครับ ?
.
👉 นอกจากนี้ ในบางบริษัทก็มีการจ่ายเบี้ยขยันเพื่อจูงใจพนักงาน แต่ถ้าวันไหนคุณลาป่วยหรือลากิจ ก็ไม่ได้ในส่วนนี้ ซึ่งบางคนไม่สบายก็ยอมอดทนทำเพื่อสิ่งนี้ก็มีเช่นกันครับ
.
📌 ส่วนสิทธิ์การลาพักร้อน เมื่อทำงานครบ 1 ปี พนักงานต้องได้รับไม่น้อยกว่า 6 วันทำงานต่อปี หรือบริษัทอาจกำหนดให้สะสมไปรวมในปีต่อไป ส่วนคนที่ทำงานไม่ครบ 1 ปี จะไม่ได้สิทธิ์ หรืออาจขึ้นอยู่กับนโยบายบริษัท
.
ทั้งนี้ การลาพักร้อน คือวันหยุดที่พนักงานไม่ต้องให้เหตุผลเลยก็ได้ ฉะนั้นส่วนนี้บริษัทไม่ควรนำมาประเมิน ซึ่งจริง ๆ บางบริษัทก็ให้สิทธิ์พักร้อนเยอะกว่าที่กฎหมายกำหนดด้วยซ้ำ แต่ถ้ายังคงมีผลต่อการประเมิน ก็ไม่ควรให้สิทธิ์ตั้งแต่แรกนะครับ พนักงานน่าจะรู้สึกดีมากกว่า
.
อย่างไรก็ตาม สิทธิ์การลางานทั้งหลายที่กฎหมายกำหนดให้พนักงาน อย่างการลาป่วย ลากิจ พนักงานก็ไม่ควรคิดว่าต้องใช้ให้หมดเพราะเป็นสิทธิ์ของเรา เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ใช้เมื่อจำเป็นและต้องสมเหตุสมผล สำคัญคือหัวหน้ามีสิทธิ์ไม่อนุมัติ ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลเพียงพอครับ 😍❤
.
🙏 ขอบคุณข้อมูล : อาจารย์ พรเทพ พงษ์สง่างาน ที่ปรึกษาอาวุโสด้าน HR และกรรมการ บริษัท เซ็นเมนทอร์ จำกัด ,กรรมการบริหาร APK Management Center
⭐ Website : www.senmentor.com
⭐ Line : wisebrown
📱 Tel : 081-820-9271

ใส่ความเห็น