fbpx
31ส.ค.
Brownout ภาวะหมดใจในการทำงาน น่ากลัวกว่า Burnout หรือภาวะหมดไฟ ที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนและจะแสดงอาการอย่างชัดเจน โดยเฉพาะประสิทธิภาพในการทำงานที่ลดลง
.
👉 แต่ Brownout มักเกิดกับบุคลากรที่มีความสามารถ โดยไม่แสดงอาการใด ๆ จะยังคงทำงานได้ดีเหมือนเดิม แต่จะสะสมความรู้สึกของภาวะนี้ไปเรื่อย ๆ จนที่สุดก็ตัดสินใจลาออก องค์กรต้องเสียคนเก่งไปแบบไม่ทันตั้งตัวเลยค่ะ
.
จากผลสำรวจของ Harvard Business Review ยังพบว่า อัตราส่วนที่มีผลต่อการลาออกของพนักงานชาวอเมริกัน ถึง 40% มาจากภาวะ “Brownout” ส่วน “Burnout” มีเพียง 5% เท่านั้น
.
📌 สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ Brownout คืออะไร ? มาดูพร้อมกันเลยค่ะ
.
😓 1 เจ้านาย – หัวหน้า คาดหวังสูง เอาแต่ใจตัวเอง : ต้องการงานในแบบที่ตนต้องการเท่านั้น มาตรฐานสูงเกินความเป็นจริงที่จะสามารถทำได้ รวมถึงการสั่งงานใหม่ โดยไม่สนว่าพนักงานยังมีงานเก่าที่ต้องจัดการ ทำให้รู้สึกถูกกดดันมากขึ้นเรื่อย ๆ
.
😓 2 ถูกปิดโอกาสในการค้นหาและสร้างสิ่งใหม่ : ให้อยู่ในกรอบที่องค์กรสร้างไว้อย่างเดียว พนักงานไม่ได้นำเสนอไอเดีย ไม่ได้ทำสิ่งใหม่ ๆ ไม่ได้ทำในสิ่งที่อยากทำ ความเบื่อหน่ายจึงถูกสะสมทุกวัน
.
😓 3 มีวัฒนธรรมเส้นสายภายในองค์กร : เลือกปฏิบัติกับพนักงานอย่างไม่เป็นธรรม พนักงานที่เป็นลูกรักเจ้านายหรือหัวหน้า ได้รับการยกย่องโดยไม่ได้วัดจากผลงานหรือความสามารถที่แท้จริง ขณะที่พนักงานซึ่งไม่มีเส้นสายอาจทำงานได้ดีกว่า กลับไม่ได้รับความสนใจใด ๆ
.
😓 4 ทำสำเร็จแล้วไม่ได้รับการชื่นชม : องค์กรไม่ให้ความสำคัญกับพนักงานที่ทำผลงานดี สำเร็จตามเป้าหมาย ทำให้พวกเขารู้สึกว่า ทำดีไปก็ไม่ได้อะไร
.
😓 5 องค์กรมีกฎระเบียบจุกจิกเกินไป : พนักงานที่มีความสามารถจะรู้สึกว่า ในเมื่อเขาทำผลงานได้ดี ตั้งใจทำงาน ก็ไม่จำเป็นจะต้องถูกบังคับให้ทำอะไรที่ดูจุกจิกเกิน ทำให้รู้สึกเบื่อและกดดันในการทำงานด้วย
.
😓 6 บรรยากาศการทำงานมีแต่ความเครียด : แค่งานก็หนักแล้ว บรรยากาศยังไร้ความสนุกอีก การทำงานก็ยิ่งเครียดไปใหญ่ เจอแบบนี้ทุกวันก็ไม่ไหว
.
😓 7 องค์กรไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน : การทำงานขาดความรู้สึกร่วม ไม่รู้ว่าจะเดินไปในทิศทางไหนเพื่อให้องค์กรพัฒนาเติบโตต่อไป เหมือนหุ่นยนต์ที่รอคำสั่งแล้วทำงานให้ผ่านไปวัน ๆ เท่านั้น
.
จากสาเหตุทั้ง 7 ข้อนี้ สิ่งสำคัญที่จะช่วยลดโอกาสในการเกิดภาวะ Brownout คือการพูดคุยกันระหว่างเจ้านาย – หัวหน้า กับพนักงาน ในแบบที่เปิดใจรับฟังความต้องการของกันและกัน แล้วหาข้อตกลงที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ โดยไม่มีการบังคับใด ๆ และให้ความสำคัญกับการตอบแทนพนักงานที่ทำผลงานสำเร็จ การสร้างบรรยากาศการทำงานที่ไม่เครียดเกินไป มากกว่าการกำหนดบทลงโทษที่ทำให้รู้สึกกดดัน รวมถึงสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นภายในองค์กรอย่างแท้จริง 😍❤
🙏 ขอบคุณข้อมูล : longtunman, missiontothemoon