fbpx
03พ.ย.

ถ้าจะพูดถึงเพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมงานดี มีชัยไปกว่าครึ่ง แต่ถ้าเจอเพื่อนร่วมงานไม่ดี เราต้องทำอย่างไร และรับมืออย่างไร เพื่อนร่วมงานแบบไหนที่เราควรหนีให้พ้น

1. วางตัวเป็นใหญ่ โชว์เก่ง จนเกินจริง

ไม่ว่าเมื่อไรที่เพื่อนร่วมงานคนนี่เข้างานมาแหละ หายนะก็จะตามมา และทันทีที่ลับสายตาเราก็ทำตัวกร่างโอ้อ้วด โชว์ภูมิความรู้ จนเกินจริง โดยอ้างว่ามีประสบการณ์ด้านโน้น ด้านนี้ เป็นสิบๆปี แต่ไม่มีผลงานที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีสักงาน แถมยังไม่ยอมพัฒนาตนเอง ทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว

2. ขี้นินทา

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เจอกันทุกบริษัท ไม่จำกัดเพศ ไม่ว่าหญิงหรือชาย หรือเพศอื่นๆ ก็หนีไม่พ้น คนนิททา เพื่อนร่วมงานแบบนี้มักโยงคนโน้น จับคนนี้ ไม่มีข้อเท็จจริง เรียกว่า นินทาจนติดนิสัย แต่งานตัวเองไม่เดิน แล้วเป็นสายโยนความผิดไปเรื่อย จนน่าเบื่อหน่าย

3. นักสืบ เรื่องส่วนตัวของชาวบ้านในบริษัท

แม้กระทั่งพื้นที่ส่วนตัว เพื่อร่วมงานประเภทนี้ ยังค่อยยุ่งเรื่องชาวบ้าน จนบางทีจนเกินเส้นความเป็นส่วนตัวและไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องงาน พูดจาต่อหน้าดี และลับหลังสืบและยุ่งเรื่องชาวบ้านมากกว่าทำงานความรับผิดชอบของตนเอง

4. เป็นพวกชอบตำหนิติเตียนคนอื่น

สายโยน สายตำหนิ พองานตนเองทำไม่สำเร็จ ก็ถึงเวลาโยนความผิดให้คนอื่น เพื่อนร่วมงานแบบนี้ มีลักษณะพิเศษ คือต่อหน้าจะไม่พูดอะไร แต่เล่นคนอื่นลับหลัง และไม่เคยมองหน้าที่ความรับผิดชอบตนเอง และพัฒนาตนเอง ติดนิสัยทำงานแบบเป็นฝ่ายรับ แต่ไม่รู้จักแสวงหาด้วยตนเอง คนแบบนี้ สังเกตได้ว่า ว่าไม่เคยโทษตนเองแต่โทษแต่คนอื่น

5. สายเล่นแต่เน็ต แต่งานไม่ทำงาน

สายบันเทิงแบบนี้ เข้าที่ทำงาน ก็ไม่ได้สนใจอะไรกับงานตนเองและหน้าที่ตนเอง แต่ครึ่งวันหมดไปกับดูหนังฟังเพลง จนเกินงาม แต่เวลางานไม่ทัน ก็ถึงเวลาโยนงานตามเคย

6. เพื่อนร่วมงานแนว 10 ปีที่แล้วทำแบบนี่ 10 ต่อมาก็ทำเหมือนเดิม

เจอแบบนี้ การทำงานเป็นทีม และทำงานร่วมกับคนอื่นยาก เพราะไม่รู้จักคิดหรือเปลี่ยนแปลงตัวเอง ในการทำงานให้ทันยุคทันสถานการณ์ปัจจุบัน

7. พวกช่างรายงาน

เจอกันเยอะกับเพื่อนร่วมงานประเภทนี้ มีตั้งแต่ระดับปฏิบัติงานถึงระดับสูง วันๆไม่ทำไร รับสายอะไรมา ไม่คิดกรองหรือสอบสวน แต่ตัดสินคนอื่นแบบไม่ยุติธรรม แล้วทำตามไปวันๆ ใครทำงานดีกว่า ก็อิจฉา ใส่ร้าย ถ้าหนักมากว่า เจ้านายหูเบาและอคติไม่ดี ก็ไปกันใหญ่ ยากต่อการพัฒนาทีม

.

การจัดและการรับมือ เพื่อนร่วมงานแบบนี้

– ใช้เหตุใช้ผล และหลักฐาน และการปฏิบัติงานยืนหยัดการทำงานของเรา เพื่อลดการใส่ร้าย

– ไม่ยุ่งหรือใกล้ชิด คุยเฉพาะแค่เรื่องงาน ไม่เข้าร่วมวงสนทนา เพื่อมีการเริ่มจับกลุ่มทำเรื่องแบบนี้

– พยายามปล่อยวาง เมื่อมีเพื่อนร่วมงานแบบนี้ แล้วทำหน้าที่ ภาระงานของตนเองให้ดีที่สุด เต็มความสามารถพร้อมพัฒนาตนเอง

– หากมีเหตุกาณ์พูดใส่ร้าย ต้องขออธิบายชี้แจง เพื่อให้ทุกคนเข้าใจตรงใจ แม้กระทั่งหัวหน้าเรา เพื่อเป็นการชี้แจง

– วัดจากผลงาน และความสามารถ การพัฒนาตนเอง โดยเราเองก็ต้องไม่มีอคติกับเพื่อนร่วมงานแบบนี้ แต่หลีกเลี่ยง เพราะไม่มีผลดี ต่อสุขภาพจิต และสุขภาพกายของเราในการทงำาน

( แอดมินเป็นกำลังใจ เพื่อนๆร่วมงานทุกคน ผ่านเรื่องราวเหล่านี้ จริงๆ แล้ว ทุกสังคมและการทำงาน มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ขึ้นอยู่กับการจัดการความคิดของเราเอง ^^. )

ใส่ความเห็น