บทความนี้เราจะพาไปเจาะว่าอาชีพวิศวกรคืออะไร ทำหน้าที่อะไรบ้าง คนที่จะมาทำตำแหน่งนี้ได้ต้องมีพื้นฐานแบบไหน?
วิศวกร คือ ผู้ที่เรียนมาทางด้านช่างหรือทางด้านเทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวกับช่าง เพื่อที่จะทำหน้าที่ออกแบบ ก่อสร้าง และใช้งานในเครื่องจักร เครื่องไม้เครื่องมือ หรือ เป็นผู้ปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน หรือโรงงานตลอดไปจนถึง การควบคุมการใช้งานเครื่องจักรต่างๆ ที่ผลิตมา เพื่อให้การผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หรือ มีหน้าที่ควบคุมดูแลให้อุปกรณ์ต่างๆใช้งานอย่างปลอดภัยหรือมีหน้าที่ซ่อมบำรุงอุปกรณ์ สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัยเสมอ รวมไปถึง วิศวกรที่มีหน้าที่วิจัยและพัฒนาเพื่อผลิตสินค้าใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด
คนที่จะทำงานเป็นวิศวกรได้ ควรมีพื้นฐานอะไรบ้าง
1. วิศวกรต้องเป็นคนที่เก่งคำนวณ คือ ต้องเก่งวิชาคณิตศาสตร์
2. ต้องเป็นคนที่มีตรรกะดี มีความคิดเป็นเหตุเป็นผล
3. ต้องเป็นคนที่มองโลกตามความเป็นจริง ไม่ใช่เพ้อฝันในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
4. ต้องเป็นคนมีจินตนาการ เพื่อจะได้สร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา จินตนาการกับเพ้อฝัน มันคนละเรื่องกัน
5. ต้องเป็นคนที่มีความอดทนในงานที่หนักและยาก เช่นงานก่อสร้าง
6. ต้องเป็นคนที่มองภาพรวมอย่างเป็นระบบได้ชัดเจน
7. ต้องเป็นคนที่สนใจรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เนื่องจาก งานของวิศวกรเป็นงานที่ต้องการความถูกต้องแม่นยำสูง
8. ต้องเป็นคนที่ทำงานอย่างเป็นระบบตามขั้นตอนอย่างชัดเจน
9. ต้องเป็นคนที่เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลาให้ทันตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
10. ต้องเป็นคนที่ยืดหยุ่นได้ แต่อยู่ในหลักการ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้ง่ายขึ้น
11. ต้องหัดเรียนรู้ข้อจำกัดทางด้านพาณิชย์ ซึ่งมักจะขัดแย้งกับทางด้านวิศวกรรมเสมอ เพื่อให้สามารถสร้างสิ่งที่ถูกต้อง และขายได้จริงในโลกของความเป็นจริงในการทำธุรกิจ
12. ต้องมีจรรยาบรรณยึดหลักความถูกต้องเป็นหลัก เพราะบ่อยครั้งที่ต้องเจอสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับกำไรขาดทุน แต่ขัดแย้งกับจรรยาบรรณ เพราะโลกของธุรกิจ มักจะมีปัญหาระหว่างเชิงพาณิชย์กับเชิงวิศวกรรมอยู่เป็นประจำ
หน้าที่ของวิศวกร
1. วิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้กับโลก ได้มีโอกาสใช้งานเพื่อให้ชีวิตง่ายขึ้นมีความสุขขึ้น
2. ออกแบบเครื่องจักร หรือเทคโนโลยี เครื่องไม้เครื่องมือ และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อเน้นถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพการใช้งาน
3. ทำการผลิตเครื่องจักร ผลิตเทคโนโลยี ทำการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ให้สำเร็จเป็นไปตามแบบตามแผน ตามมาตรฐานที่ถูกกำหนดไว้ในขั้นตอนของการออกแบบ
4. เป็นผู้ควบคุมการใช้งานของเครื่องจักรต่างๆ ที่ผลิตออกมาแล้ว ให้ทำงานอย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพคุ้มค่ากับการลงทุน
5. เป็นผู้ที่คอยบำรุงรักษาเครื่องจักรต่างๆ หรือระบบงานต่างๆ หรือเทคโนโลยีต่างๆ รวมไปถึงอาคารหรือส่วนก่อสร้างต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อยู่ตลอดเวลา ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยตลอดอายุการใช้งาน
6. เป็นผู้สรรหาอุปกรณ์ต่างๆ หรือวัสดุต่างๆ ที่ดี ที่มีคุณภาพ เพื่อนำมาใช้ในการผลิต ก่อสร้าง หรือพัฒนาสินค้าเทคโนโลยีในระบุในขั้นตอนการออกแบบ
7. เป็นผู้เสนอขายสินค้าอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ให้กับผู้ซื้อ เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด ไปใช้ในการผลิต ในการก่อสร้าง หรือ ในการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ
8. เป็นผู้ควบคุมดูแลความปลอดภัย ทั้งในขั้นตอนการก่อสร้าง การผลิต ไปจนถึงตลอดขั้นตอนของการดำเนินการใช้งานเครื่องจักร เครื่องไม้เครื่องมือ หรือเทคโนโลยีต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ให้มีความปลอดภัยก่อนใช้งานระหว่างใช้งานและหลังจากใช้งานไปแล้ว
สาขาวิชาของวิศวกรมีมากมายหลายสาขา ซึ่งอยู่ในช่วงท้ายของบทความนี้ว่า ในปัจจุบันมีสาขาอะไรบ้างที่หลากหลายแตกต่างกันไปมากมายในปัจจุบัน แต่ถ้าจะพูดถึงสาขาหลักๆ ที่มีมาดั้งเดิมในช่วง 40-50 ปีก่อนที่จะมีการเข้าสู่เทคโนโลยียุคใหม่ๆ เราก็จะคุ้นเคยกับสาขาหลักประมาณนี้
1. วิศวกรไฟฟ้า คือ วิศวกรที่เกี่ยวข้องกับกระแสไฟฟ้า หรือเกี่ยวข้องกับคลื่นการสื่อสาร ซึ่งจะเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการดูแลงานเกี่ยวกับการส่งกำลังไฟฟ้า หรือเกี่ยวกับงานสื่อสารผ่านทางคลื่นต่างๆแต่ในยุคปัจจุบันจะมีสาขาใหม่ๆ เพิ่มเติมมาในหมวดหมู่ของวิศวกรไฟฟ้า ก็คือ วิศวกรคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะแบ่งออกเป็นย่อยอีก 2 ลักษณะ คือ วิศวกรคอมพิวเตอร์ทางด้านฮาร์ดแวร์เกี่ยวกับงานติดตั้งระบบ หรือ วิศวกรคอมพิวเตอร์ทางด้านซอฟต์แวร์เกี่ยวกับเรื่องการผลิตโปรแกรม
2. วิศวกรเครื่องกล คือ วิศวกร ที่เกี่ยวกับเครื่องจักร เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ออกแบบ ผู้ผลิตผู้ใช้งาน และผู้ซ่อมบำรุง ซึ่งวิศวกรสาขานี้ จะเรียนเน้นหนักไปทางด้านฟิสิกส์ ซึ่งเป็นพื้นฐานของกลไกลการทำงานของชิ้นส่วนต่างๆ ที่สัมพันธ์กัน ประกอบกันมาเป็นเครื่องจักร เครื่องไม้เครื่องมือ ที่สร้างขึ้นมา
3. วิศวกรโยธา คือ วิศวกร ที่เกี่ยวกับการก่อสร้างสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้านอาคารโรงงาน หรือเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมต่างๆ เช่น บ่อบำบัดน้ำเสีย สะพาน ถนน ซึ่งวิศวกรโยธา เป็นวิศวกร ที่ต้องใช้ความสามารถ ในเรื่องของการคำนวณ และความสามารถในการควบคุมการก่อสร้าง ให้ถูกต้องรวดเร็วและทันเวลา ซึ่งเป็นงานที่หนักมาก และเป็นงานที่ไม่เป็นเวลาแน่นอน เพราะการก่อสร้างมักจะมีการทำงาน 24 ชั่วโมง และในบางเวลาก็ต้องก่อสร้างกันในเวลากลางคืน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจร หรือการรบกวนผู้อื่นเวลาก่อสร้างงานในเวลากลางวัน
4. วิศวกรอุตสาหการ เป็นวิศวกรที่มีความเชื่อมโยงกับ วิศวกรรมและการบริหารธุรกิจ เพราะเป็นวิศวกรที่อยู่ในลักษณะของการควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามเป้าหมาย ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจึงจะมีการเรียนรู้ในบางส่วนที่เป็นด้านวิศวกรอย่างจริงจัง และบางส่วนที่เป็นเชิงพาณิชย์ ในส่วนของการเรียนทางด้านบริหารธุรกิจ วิศวกรอุตสาห ถือเป็นหัวใจสำคัญในกระบวนการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และทำกำไรได้สูงสุด เป็นผู้ที่มีความสามารถในการจัดการบริหารสิ่งต่างๆ ให้เป็นประโยชน์สูงสุดในการเอาไปใช้งานจริง
5. วิศวกรเคมี เป็นวิศวกร ที่เกี่ยวข้องกับทางด้านการผลิตที่มาจากการใช้สารเคมีโดยตรง เพื่อให้ได้สินค้าต่างๆ ออกมา เช่นโรงงานผลิตสารเคมีต่างๆ หรืออาจจะเป็นโรงกลั่นน้ำมัน ที่ต้องใช้ความรู้ทางด้านปฏิกิริยาเคมีในการผลิตน้ำมัน วิศวกรเคมี จึงเป็นวิศวกรอีกสาขาหนึ่ง ที่แยกออกไปชัดเจนจากวิศวกรอื่นๆ ในยุคที่ 2 ของวิศวกร ที่เริ่มมีเรื่องของโรงงานอุตสาหกรรมเคมีเกิดขึ้น
6. วิศวกรเหมืองแร่ เป็นวิศวกร ที่เกิดขึ้นในยุคโบราณที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจแร่ธาตุต่างๆบนโลกใบนี้ เพื่อจะนำแร่ธาตุขึ้นมาจากพื้นดิน เอาไปใช้ประโยชน์ในการผลิตเครื่องไม้เครื่องมือ เครื่องจักรต่างๆ วิศวกรเหมืองแร่ จึงเป็นเหมือนวิศวกรประเภทแรกๆที่เกิดขึ้นในยุคของการสำรวจแร่ เพื่อนำมาแปรรูปให้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสิ่งต่างๆ ตามมาในปัจจุบัน
7. วิศวกรคอมพิวเตอร์ คือ วิศวกรรุ่นใหม่ๆ ที่เกิดมาในยุคของเทคโนโลยี ที่เริ่มพัฒนาเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมดั้งเดิมมาเข้าสู่ยุคดิจิทัล จึงเป็นวิศวกรแขนงใหม่ ที่มีรากฐานเดิมมาจากวิศวกรไฟฟ้าและในช่วงหลังๆ ก็ได้มีการพัฒนาหลักสูตรต่างๆ ให้ชัดเจนและตรงเป้าหมายมากขึ้น เพื่อรองรับเกี่ยวกับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง จึงเป็นสาขาที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เพราะปัจจุบันนี้ อยู่ในช่วงของยุคดิจิตอลและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว วิศวกรคอมพิวเตอร์ จึงเป็นวิศวกรสาขาหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมและมีความต้องการเป็นอย่างมาก
8. วิศวกรด้านการขนส่ง ก็เป็นวิศวกรที่มีความนิยมในปัจจุบันสูงเช่นกัน เนื่องจากปัจจุบันนี้โลกได้ถูกย่อส่วนลงมาให้เชื่อมโยงกันหมด ซึ่งเป็นผลมาจากเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมา ทำให้โลกแคบและติดต่อได้ทั่วถึงกันหมดภายในเวลาอันรวดเร็ว จึงทำให้เกิดการซื้อขายของคนบนโลกใบนี้อย่างเชื่อมโยงกันตลอดเวลา นำไปสู่ความต้องการในการขนส่งสินค้าตลอดเวลา 24 ชั่วโมง วิศวกรด้านการขนส่ง จึงเป็นอีกสาขาหนึ่งที่จะควบคู่ไปกับวิศวกรคอมพิวเตอร์ในโลกธุรกิจปัจจุบันยุคใหม่ที่เป็นเทคโนโลยีและเป็นระบบดิจิตอล เหมือนต้นน้ำกับปลายน้ำที่เดินคู่กันไป
9. วิศวกรทางด้านชีววิทยา ก็เป็นวิศวกรอีกแขนงหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เนื่องจากมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้นในทางการแพทย์กับทางด้านวิศวกรรม จึงทำให้มีวิศวกรแนวใหม่ที่ทำงานร่วมกับทางด้านเทคโนโลยีการแพทย์ ซึ่งในอดีตจะสังเกตว่า วิศวกรรมกับทางการแพทย์ แทบจะไม่ค่อยเชื่อมโยงกัน เพราะวิศวกรจะไม่ได้เรียนวิชาชีววิทยาในระดับปริญญาตรีเลย แต่เนื่องจากยุคปัจจุบันนี้เทคโนโลยีก้าวหน้าไปมากทำให้การศึกษาต่างๆ เชื่อมโยงถึงกันได้อย่างง่าย จึงทำให้วิศวกร ซึ่งไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องชีววิทยาในสมัยก่อน จะสามารถข้ามสายงานมาร่วมกับวิชาความรู้ทางด้านแพทย์ศาสตร์ เกิดเป็นวิศวกรทางด้านชีววิทยา ที่ทำงานควบคู่กันไปทั้ง 2 สาขาได้ ถือเป็นวิศวกรแนวใหม่ที่น่าสนใจในอนาคตอีกยาวไกล
สาขา วิศวกรรมต่าง ๆ (แหล่งที่มาข้อมูล วิกิพีเดีย)
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์
วิศวกรรมขนถ่ายวัสดุ
วิศวกรรมไฟฟ้า
วิศวกรรมโยธา
วิศวกรรมอัตโนมัติ
วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
วิศวกรรมเคมี
วิศวกรรมระบบสิ่งก่อสร้าง
วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
วิศวกรรมโทรคมนาคม
วิศวกรรมชีวเวช (หรือ วิศวกรรมชีวการแพทย์)
วิศวกรรมนาโน
วิศวกรรมการผลิต
วิศวกรรมเกษตร
วิศวกรรมชลศาสตร์ (วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ)
วิศวกรรมดินและน้ำ
วิศวกรรมขนส่ง
วิศวกรรมความปลอดภัย
วิศวกรรมปิโตรเลียม
วิศวกรรมปิโตรเคมี
วิศวกรรมซอฟต์แวร์
วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์
วิศวกรรมโลจิสติกส์
วิศวกรรมการเชื่อม
วิศวกรรมเครื่องกล
วิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด
วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร
วิศวกรรมเครื่องมือ
วิศวกรรมวัสดุ
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
วิศวกรรมอาหาร
วิศวกรรมสารสนเทศ
วิศวกรรมสื่อสาร
วิศวกรรมชายฝั่ง
วิศวกรรมสมุทรศาสตร์
วิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต
วิศวกรรมเครื่องกลและการผลิต
วิศวกรรมระบบควบคุม
วิศวกรรมการวัดคุม
วิศวกรรมโลหการ
วิศวกรรมอุตสาหการ
วิศวกรรมสำรวจ
วิศวกรรมเหมืองแร่
วิศวกรรมอวกาศยาน
วิศวกรรมพลาสติก
วิศวกรรมพอลิเมอร์
วิศวกรรมต่อเรือ
วิศวกรรมการจัดการ
วิศวกรรมการจัดการความปลอดภัย
วิศวกรรมมัลติมีเดียและเอ็นเตอร์เทนเมนต์
วิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการข้อมูล
วิศวกรรมเครือข่ายและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์