สำหรับคนที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจมักมีคำถามว่า อยากเริ่มต้นธุรกิจดีไหม ธุรกิจนี้ดีไหม ซึ่งมักจะเจอคำถามเหล่านี้อยู่บ่อย ๆ ใครที่มาถามผม ผมก็มักจะบอกกลับไปว่าคุณตั้งคำถามผิด มันตอบยากมากเลยสำหรับธุรกิจไหนดีหรือไม่ดี คำถามที่ผมว่า ดีที่สุดในการตอบเช่น ถ้าผมทำธุรกิจนี้ต้องการยอดขายเท่านี้เป็นไปได้ไหม ธุรกิจนี้ตั้งในทำเลนี้ ถ้ามียอดขายเท่านี้เป็นไปได้ไหม นี่แหละคือคำถามหรือโจทย์ที่จะมายกให้ดู
1.ธุรกิจนั้นต้องสร้างประโยชน์ให้กับคนอื่น บางคนคิดว่าการเริ่มต้นธุรกิจต้องได้เงินเลย จริงๆแล้วคือไม่ใช่ หลายๆ คนเริ่มต้นจากการทำงานฟรีให้กับผู้อื่นก่อนจากน้อยๆกลายเป็นปริมาณมากนั้นแหละ จนขยายออกมาเป็นธุรกิจได้ ดังนั้นการสร้างประโยชน์ให้กับผู้อื่น ถ้าสร้างได้น้อยก็คงไม่เหมาะกับคำว่าธุรกิจ เว้นแต่มีมูลค่าสูงก็ยกให้เป็นกรณีพิเศษ แต่ถ้าเป็นการสร้างประโยชน์ได้มากและมีมูลค่าสูงผมก็บอกได้คำเดียวว่าทำเลยไม่ต้องรอ
2.มีมูลค่าหรือสร้างยอดขายได้ อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญคือการสร้างยอดขาย หรือผลกำไรที่มาหมุนเวียนในธุรกิจ และจะไม่มาบอกว่าต้องมีเงินขนาดไหน ถึงหมุนเวียนธุรกิจได้ แต่ผมจะมาบอกว่าคุณจะต้องคำนวณอย่างไรถึงจะมีรายได้เพียงพอในการทำธุรกิจ เอาแบบที่ง่ายที่สุด คุณจำเป็นต้องเขียน business model เพื่อกำหนดกลยุทธ์ต่างๆ และข้อมูลที่จำเป็นในการใช้จ่ายเพื่อธุรกิจ ถ้ายากไป เราแค่อยากประเมินแบบธรรมดาก่อน คุณก็ต้องแจกแจงให้ได้ว่าการทำธุรกิจของคุณนั้นมีต้นทุนอะไรบ้าง เช่น ค่าเช่า ค่าวัตถุดิบ ค่าอื่นๆ ที่สำคัญ คือ ค่าแรง ทั้งตัวเองและคนทำงาน และอย่าลืมค่าแรงตนเองต้องแยกกับกำไรของธุรกิจ เพราะกำไรของธุรกิจไม่ใช่รายได้ หรือกำไรสุทธิต้องบริหารอย่างระวัง และสุดท้ายคุณจะได้เลขของต้นทุนเพื่อมาประเมินว่าต้องมียอดขายเท่าไหร่ถึงจะอยู่ได้
3.มีรายได้และฐานลูกค้าที่ยั่งยืน จริงๆ แล้วคำว่ายั่งยืน จะนิยามว่า ต้องมีระยะทำกำไรอย่างน้อย 2-3 ปี คุณเชื่อไหมว่า บางธุรกิจที่ลงทุนไปอย่างน้อยเลย ต้องใช้เวลาคืนทุนอย่างน้อย 1 ปี ถ้าบางธุรกิจโชคดีก็เพียงไม่กี่เดือน แต่เราคงไม่ได้โชคดีเสมอไป ดังนั้นเราควรตั้งเลขอย่างน้อย 1 – 5 ปี ถ้าเกินจากนี้คือไม่ดี เพราะสัญญาโดยส่วนใหญ่ที่เราเห็นก็เป็นปีต่อปี แต่ไม่เกิน ห้าปี ซึ่งถ้าธุรกิจระดับร้อยล้านพันล้านยังได้แค่ 30-50 ปี ในทำเลทอง ดังนั้นเราจำเป็นต้องประมาณการให้ได้ว่าสิ่งที่เราทำยอดเข้าใช้บริการเมื่อไหร่ แล้วเราจะต้องกระตุ้นบริการอย่างไร และจะต้องรักษาความสม่ำเสมอของมาตราฐานการบริการอย่างไร