Content Creator คืออะไร? อาชีพสร้างสรรค์ที่ใครๆ ก็ทำได้
Content Creator มีหน้าที่หลักในการผลิตเนื้อหา หรือ Content ออกมา เพื่อเป้าหมายในการสร้างสาระและความบันเทิง เพื่อให้เกิดความผูกพันหรือที่เรียกว่า Engagement เพราะเป้าหมายของการทำ Content คือ ต้องการให้เกิดผู้ติดตาม เกิดความผูกพันและมีส่วนร่วมทำให้ Content นั้น สามารถสร้างรายได้ หรือสร้างโอกาสในทางธุรกิจขึ้นมาได้จากผู้ติดตาม ซึ่ง Content ทั้งหลายนี้ จะสร้างอยู่บนพื้นฐานของแพลตฟอร์มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น YouTube, Instagram, TikTok, Twitter, Block หรือรวมไปถึง Website เพื่อให้เข้าถึงลูกค้า หรือผู้ติดตาม แต่หากการเข้าถึงนั้น ไม่มีความผูกพันเกิดขึ้น ก็จะเป็นเพียง Content ที่ผ่านไป ไม่สามารถสร้างสร้างรายได้ทางธุรกิจได้ หรือสร้างแบรนด์ให้เกิดการรับรู้หรือติดตามจากกลุ่มลูกค้าหรือผู้ติดตามได้

👉อุปกรณ์ที่ชาว Content Creator ต้องใช้
อุปกรณ์ที่จะต้องมีสำหรับในการทำ Content ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็น Digital Content Creator นั้นจะต้องมี
- กล้อง
- ไมโครโฟน
- ระบบไฟ
ซึ่งสำหรับผู้ที่เริ่มต้นใหม่ในการทำ Content นั้น ไม่จำเป็นต้องลงทุนในเรื่องของอุปกรณ์ ที่แพงมากจนเกินไป เนื่องจากยังไม่แน่ใจว่าจะอยู่ในการทำ Content ไปอีกนานแค่ไหน ซึ่งอาจจะหมดไฟก่อนที่จะประสบความสำเร็จ จึงอาจทำให้การลงทุนดังกล่าว อาจเป็นการลงทุนที่สูงเกินไป แต่ถ้าทำไปนานๆ แล้วเกิดประสบความสำเร็จ มีรายได้เข้ามา จึงลงทุนอุปกรณ์มากขึ้น
อีกเรื่องที่น่าคิด ก็คือ การเริ่มต้นทำ Content ใหม่ๆนั้น อุปกรณ์ก็มีราคาไม่แพงมาก แต่เมื่อประสบความสำเร็จ เริ่มมีรายได้เข้ามา คุณภาพของ Content ที่จะทำออกมานั้น ก็จะมีคุณภาพที่สูงขึ้น มีความคาดหวังสูงขึ้น นั่นหมายถึง การลงทุนหรืออุปกรณ์ต่างๆ ก็ต้องดีขึ้นจนไปถึงทีมงานต่างๆที่ต้องมีค่าจ้าง หรือค่าใช้จ่ายในการผลิต Content ที่มีคุณภาพมากขึ้นในอนาคต ซึ่งตรงนี้ มักจะเป็นกำไร หรือมีรายได้มากขึ้นก็จริง แต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องมีต้นทุน และความยุ่งยากหรือคุณภาพในการผลิตที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ จนบางครั้งทำให้ผู้ที่ทำ Content หลายๆคนเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย เพราะเริ่มต้นจากการทำ Content ที่ง่ายๆ สบายๆ ไม่มีรูปแบบมากมาก ไม่มีระบบ ระเบียบหรืออุปกรณ์ที่มากจนเกินไป แต่เมื่อมาถึงจุดที่ประสบความสำเร็จมากขึ้นแล้ว ต้องลงทุนทั้ง เวลา ทีมงานและอุปกรณ์ที่มากเกินไป ทำให้รู้สึกการทำ Content มันยุ่งยากมากขึ้น เทียบกับการเริ่มต้นใหม่ๆ และเกิดความเบื่อหน่ายในที่สุด จนหลายคนก็เลิกทำ Content ไป

👉คุณสมบัติของคนที่จะทำ Content หรือเป็น Content Creator นี้จะต้องเป็นคนที่
1. มีเป้าหมายชัดเจน
ว่า เราจะทำ Content ในลักษณะไหน กลุ่มลูกค้า คือใคร เนื้อหาสาระ เป็นอย่างไร จะเป็นลักษณะของความบันเทิง หรือเป็นวิชาการ หรือเป็นความรู้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะแบ่งผู้ที่ทำ Content เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
- กลุ่มที่เน้นเรื่องของการรีวิวสินค้าหรือรีวิวสิ่งต่างๆ
- กลุ่มที่เน้นเรื่องของการเรียนการสอนหรือการให้คำแนะนำหรือที่เรียกว่าเป็นติวเตอร์
- กลุ่มที่หยิบเนื้อหาสาระในแต่ละวันมาทำ Content หรือพูดง่ายๆ คือ อิงกับกระแสปัจจุบันแต่ละวันว่าเขามีกระแสอะไรที่สำคัญหรือน่าสนใจก็หยิบกระแสนั้นมาทำ Content
2. อดทน
ต้องเป็นผู้ที่มีความอดทนในการทำ Content อย่างต่อเนื่อง เพราะการทำ Content จะประสบความสำเร็จได้นั้น จะต้องมีความต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้ติดตามได้รับความรู้ หรือสาระอย่างต่อเนื่อง แต่การทำ Content นี้ จะต้องทำในรูปแบบที่มีความชัดเจนว่า เนื้อหาสาระที่เราจะทำนั้น มีลักษณะเช่นไรกันแน่ เพราะหากมีความหลากหลาย หรือสะเปะสะปะมากเกินไป ผู้ที่ติดตามเรา ก็จะเกิดการสับสนว่า ตกลงแล้วเข้ามาในช่องของเราแล้ว จะได้ข้อมูลอะไรไปแน่นอน หรือหลากหลายจนคาดเดาไม่ถูก ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ผู้ทำ Content จะต้องมีความอดทนต่อเนื่องและมีความชัดเจนในการทำช่องเนื้อหา Content ของตัวเองว่าเป็นแนวไหนกันแน่ กลุ่มเป้าหมาย คือ ใครกันแน่
3. ใฝ่เรียนรู้
เป็นคนที่ต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการทำ Content ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของซอฟต์แวร์ที่ต้องใช้ในการทำ Content ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแพลตฟอร์มต่างๆ ที่ต้องใช้ในการทำ Content ซึ่งมีหลากหลายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นบล็อก YouTube, TikTok, Twitter, Instagram ไปจนถึง Website
4. มีความสามารถ
ต้องเป็นคนที่มีความรู้ ความสามารถในการทำเรื่องของ Graphic Video หรือ Photo เนื่องจากเป็นส่วนประกอบสำคัญของการทำ Content แต่ในส่วนนี้ อาจจะจ้างคนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนี้มาทำให้โดยเฉพาะได้ ในกรณีที่ ผู้ที่เป็นคนทำ Content ไม่มีความถนัดในเรื่องของซอฟต์แวร์ แต่มีความขยันเรื่องการสร้างสาระเนื้อหาขึ้นมา ก็ต้องอาศัยทีมงานที่มีความถนัดในเรื่องของการใช้ซอฟต์แวร์ หรือการใช้อุปกรณ์ต่างๆ มาเป็นทีมงานเสริมในการผลิต Content ออกมาให้มีคุณภาพและเนื้อหาเป็นไปตามที่ผู้ผลิต Content ต้องการหรือวางแนวทางไว้ให้ชัดเจน
5. ต้องวัดผลเป็น
ต้องสามารถวัดผลของการทำ Content ว่ามี Engagement การมีส่วนร่วมหรือความผูกพันมากน้อยเพียงใด เนื่องจากเป้าหมายหลักของการทำ Content คือ ต้องการให้เกิดการมีส่วนร่วมมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายของการสร้างรายได้ หรือสร้างโอกาสในทางธุรกิจต่อไป เช่น การสร้างแบรนด์ของบริษัทต่างๆ ที่ต้องการให้เกิดการรับรู้ หรือการจดจำ หรือความเข้าใจถึงความเป็นตัวตนของแบรนด์นั้นผ่าน Content ต่างๆที่ทำออกมา

👉ลักษณะงานของ Content Creator อาจจะแบ่งได้กว้างๆดังต่อไปนี้
1. กราฟิกดีไซน์
หรือ ผู้ออกแบบกราฟิกทั้งหลาย ซึ่งจะเป็นผู้ที่จะต้องออกแบบ ภาพโลโก้ เว็บไซต์ สื่อต่างๆ เป็นภาพที่สามารถนำไปใช้กับซอฟต์แวร์ต่างๆได้ เพื่อสร้างสรรค์สื่อออกมาอย่างสวยงาม ดึงดูด และต้องมีความสามารถในการใช้สีที่ถูกต้องเพราะเนื้อหา Content ที่ทำออกมานั้น จะมีเรื่องของสีเข้ามาเป็นส่วนประกอบสำคัญเช่นกันในการตกแต่ง หรือสร้าง Content ขึ้นมา ซึ่งทฤษฎีสีพื้นฐาน คือสิ่งที่จำเป็นสำหรับคนที่จะทำหน้าที่ในกราฟิกดีไซน์ นอกเหนือจาก ความรู้เรื่องของ Software ต่างๆที่ต้องใช้ในการตัดต่อ ตกแต่งหรือสร้างเนื้อหาสาระขึ้นมา
2. ผู้นำเสนอ
ผู้ที่นำข้อมูลต่างๆ มานำเสนอ ในลักษณะของผู้ที่บรรยาย หรือผู้ที่สื่อข้อมูลออกไป จะต้องเป็นผู้ที่มีความชำนาญเกี่ยวกับการนำเสนอ การแสดงออกและต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระที่กำลังจะนำเสนออย่างชัดเจน เช่น กรณีที่ต้องการสร้างภาพพจน์ของตราสินค้าของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ให้ไปในทิศทางที่ต้องการ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำเสนอหรือสื่อสารข้อมูลเหล่านั้นออกมา จะต้องเป็นคนที่เข้าใจเรื่องของตราสินค้านั้น เข้าใจเรื่องราวของสินค้านั้น หรือเนื้อหาของ Content อย่างชัดเจน เพื่อให้การนำเสนอออกไปนั้น มีประสิทธิภาพตรงเป้าหมาย และสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา ไม่เกิดความผิดพลาดในการตีความของลูกค้าหรือผู้ติดตามว่า เราต้องการนำเสนออะไรกันแน่ เกี่ยวกับตราสินค้าที่เรากำลังพูดถึงอยู่
3. ผู้เชี่ยวชาญ
เป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น SEO หรือ Social Media และการวัดผล การประเมินผลเกี่ยวกับความผูกพัน หรือ การมีส่วนร่วม หลังจากที่ได้นำเสนอสื่อออกไปสู่สาธารณะแล้ว จะต้องสามารถวัดผลได้ และสามารถนำข้อมูลต่างๆ ที่เป็นรายงาน มาวิเคราะห์ถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลว หลังจากที่สื่อได้ถูกนำเสนอออกไปแล้ว และมี Feedback กลับมาเป็นรูปของรายงานต่างๆ ที่อยู่ในระบบ Software ของแพลตฟอร์มต่างๆนั้น
กล่าวโดยสรุป ก็คือ คนที่ทำหน้าที่เป็น Content Creator นั้นจะต้องมีความรู้หลากหลาย แต่ที่สำคัญขึ้นอยู่กับว่า ทำหน้าที่ในตำแหน่งใด
ถ้าทำหน้าที่ในตำแหน่งเกี่ยวกับการออกแบบกราฟิกต่างๆ ก็จะต้องเป็นคนที่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ซอฟต์แวร์อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่ถ้าเป็นคนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำเสนอจะต้องเป็นคนที่มีความตื่นตัว ติดตามสื่อต่างๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ทันสมัย และมีข้อมูลมากเพียงพอในการนำเสนอ เรียบเรียงคำพูดได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน และตรงตามวัตถุประสงค์หลัก ที่ต้องการให้ผลลัพธ์จากการสื่อสารออกไปนั้นออกมาเป็นอย่างไร หรือ
อาจจะเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลัง หลังจากที่มีการสื่อสารออกไปแล้ว และไปวิเคราะห์ประเมินถึง อัตราความสำเร็จ หรือความล้มเหลวต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้สื่อสารออกไป แล้วมีรายงานจากแพลตฟอร์มต่างๆ ออกมาว่า ได้ผลดีหรือไม่ดีอย่างไร มีการผูกพัน หรือมีการมีส่วนร่วมอย่างไร มากน้อยเพียงใด เพื่อจะได้นำสิ่งเหล่านั้นมาปรับเปลี่ยนแก้ไขสำหรับการสร้าง Content ในชุดต่อๆ ไปให้ตรงกับเป้าหมายและเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

