13พ.ค.

เรียนจบ Food Science สามารถทำงานสายไหนได้บ้าง?

Food Science เป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับด้านโภชนาการเกี่ยวกับเทคนิคด้านการบริหารจัดการเกี่ยวกับอาหารเรามาดูกันว่าคนเรียนจบ Food Science สามารถทำงานตำแหน่งอะไรได้บ้าง?

1. Product Development

ทำหน้าที่ในการออกแบบสินค้าใหม่ๆ ให้กับบริษัทไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการพัฒนาสินค้าที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือ เป็นการคิดค้นสินค้าขึ้นมาใหม่ๆ การทำงานในตำแหน่งนี้ จะต้องใช้ความรู้ทั้งในด้านของ Food Science และเชื่อมโยงกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่ได้รับข้อมูลมาจากฝ่ายการตลาดว่าผู้บริโภคต้องการสินค้าประเภทไหน เช่น รูป รส กลิ่น สัมผัส ลักษณะเนื้อเป็นอย่างไร และต้องใช้กระบวนการใดในการพัฒนาสินค้านั้นขึ้นมา ความรู้พื้นฐานด้าน Food Science ที่ลึกซึ้งจึงเป็นปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จในการทำหน้าที่ตรงนี้เพราะเปรียบเสมือนการใช้ความรู้รวบยอดทั้งหมดเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆทางด้านการผลิตสินค้าใหม่ๆ

2. Quality Assurance

เป็นผู้ที่ควบคุมคุณภาพสินค้าแบบสุ่มตรวจ หรือแบบตรวจสอบร้อยเปอร์เซ็นต์อีกครั้ง ก่อนที่จะปล่อยสินค้าออกไปสู่ตลาด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขั้นตอนที่สินค้าผลิตเสร็จแล้ว เป็นการตรวจสอบซ้ำอีกรอบหนึ่ง หลังจากที่ผ่านการตรวจสอบในขั้นตอนเบื้องต้นจากสายการผลิตมาล่วงหน้าแล้วและปล่อยสินค้าให้ผ่านมาได้ในขั้นตอนการผลิต

3. Quality Control

เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพสินค้าในระหว่างการผลิต ว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้หรือไม่ หากมีความผิดพลาดเกิดขึ้น จะต้องเป็นผู้เสนอแนะว่า จะให้มีการยอมรับหรือปฏิเสธสินค้าชุดนั้น และทำการผลิตใหม่ หรือจะยอมรับผ่านไป โดยพิจารณาถึงระดับความเสี่ยงที่จะรับได้ ซึ่งจะมีความเสี่ยงหลายระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับความเชื่อมั่นที่ 100% ความเชื่อมั่นที่ 99%  ความเชื่อมั่นที่ 95% หรือความเชื่อมั่นที่ 90% ล้วนแล้วแต่ เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาตกลงกันว่า สินค้าผลิตในล็อตเดียวกัน ถ้าหากผ่านที่ระดับความเชื่อมั่น 99% อาจจะไม่สามารถส่งออกไปขายได้ เนื่องจากไม่ผ่านมาตรฐาน แต่หากลดระดับความเชื่อมั่นลงมาที่ 90% สินค้าชุดนั้น อาจจะถูกปล่อยผ่านให้ออกไปขายในตลาดได้ ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปตามนโยบายหรือการต้องการรับความเสี่ยงในการผลิตสินค้าออกไปสู่ตลาด

4. Sensory Science

เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการตรวจวัดความพึงพอใจของลูกค้า เกี่ยวกับคุณสมบัติของสินค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ รสชาติ สีกลิ่น รูปลักษณ์ ที่เห็นว่าลูกค้ามีความพึงพอใจในส่วนใดเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นตัวที่นำไปสู่การวิเคราะห์ และพิจารณาให้กับฝ่ายผลิตสินค้า เพื่อจะวางแนวทางการตลาดในการผลิตสินค้าให้เป็นไปตามทิศทางที่ลูกค้าพึงพอใจ ไม่ว่าจะเน้นในส่วนใดก็ตามในเรื่องของ รูปลักษณ์ กลิ่น สี รสชาติ ว่าสิ่งใดจะเป็นสิ่งที่เด่น หรือ ถูกใจกับพฤติกรรมผู้บริโภคในสินค้าประเภทนั้นๆ ในช่วงเวลานั้นๆ

5. Food Processing Engineer 

ทำหน้าที่เป็น ผู้วางแผนในการจัดหาอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการทำงาน และเป็นผู้ที่วางระบบการทำงานในขั้นตอนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของเทคโนโลยีในการผลิต เรื่องของการควบคุมขั้นตอนการทำงานต่างๆ ทั้งในเรื่องของคุณภาพ การวางแผนการผลิต เพื่อให้ทุกอย่างออกมามีคุณภาพในทุกขั้นตอนภายใต้มาตรฐานความปลอดภัย และมาตรฐานการผลิตที่ถูกกำหนดไว้ และงบประมาณการลงทุนที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถสร้างรายได้และกำไรเพียงพอต่อการดำเนินกิจการ ความยากอยู่ตรงที่จะใช้เครื่องมือระดับไหน จำนวนเท่าไหร่ เพื่อรองรับการผลิตให้ได้มาตรฐานความสะอาด หรือความปลอดภัยของสินค้า ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้สายการผลิตนั้น กระชับ มีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถทำให้เกิดจุดที่เรียกว่า Optimal Operation

6. Food R&D

เป็นงานด้านวิจัยพัฒนาสินค้าในระดับลึกลงไป ในปฏิกิริยาเคมี เพื่อวิจัยพัฒนาสินค้า โดยเริ่มต้นตั้งแต่ การคัดเลือกวัตถุดิบ การกำหนดกระบวนการผลิต หรือวิธีการผลิตสินค้าออกมา การหาผลกระทบของปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ความร้อน หรือ เวลา ที่ใช้ในการผลิตสินค้า เพื่อให้สินค้าที่แตกต่าง หรือ เป็นนวัตกรรมใหม่ของสินค้าใหม่ๆ ที่จะนำเข้าสู่ตลาด Food R&D จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของการพัฒนาสินค้าที่จะออกสู่ตลาดในอนาคต ทุกอย่างจะต้องมาเริ่มต้นจากจุดนี้ก่อนเสมอ

7. Food Safety

เป็นเรื่องของการกำหนดมาตรฐานเพื่อควบคุมความปลอดภัยในสินค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนประกอบต่างๆ ที่ใช้ มีความปลอดภัยจากสารปนเปื้อนแค่ไหน หรือสินค้าที่ผลิตออกมาแล้ว มีความปลอดภัยกับสุขภาพแค่ไหน เป็นหน้าที่ของ Food Safety ที่จะต้องตรวจสอบ และใช้วิชาการหรือเทคโนโลยีต่างๆ ในการวิเคราะห์ถึงมาตรฐานของสินค้าที่ผลิตออกมาให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ถูกกำหนดไว้หรือดีกว่า

8. Source Supplier

มีหน้าที่ เป็นผู้จัดหาวัตถุดิบต่างๆ ให้มีมาตรฐานเดียวกัน ไม่ว่าจะสั่งมาจากที่ใดในโลก ในมุมของผู้ผลิต Source Supplier จะทำหน้าที่ไปหาแหล่งวัตถุดิบต่างๆทุกมุมโลก เพื่อจะให้ได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบที่มาจากประเทศตัวเองหรือมาจากต่างประเทศ จะต้องได้มาตรฐานเดียวกันเพื่อให้การผลิตสินค้าที่ออกไป ไม่ว่าจะมีแหล่งวัตถุดิบมาจากที่ใดก็ตามอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน

9. Ingredient Supplier

เป็นผู้มีหน้าที่ผลิตวัตถุดิบต่างๆออกมาเพื่อ Supply ให้กับโรงงานต่างๆ ที่ต้องใช้วัตถุดิบในการผลิตในโรงงาน ซึ่งจะต้องมีความรู้ทางด้าน Food Science เพื่อจะได้รู้ว่าวัตถุดิบต่างๆ ควรจะมีคุณสมบัติอย่างไรที่เหมาะสม เพื่อไปใช้ในการผลิตสินค้าอะไร ในคุณสมบัติอย่างไรที่ต้องการ

10. Food Inspector

เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่มีหน้าที่ออกไปตรวจสอบความถูกต้องของการผลิตอาหารที่ขายในตลาด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความปลอดภัย ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยที่ถูกกำหนดไว้ มีหน้าที่ให้ความรู้กับผู้ประกอบการทุกคน ถึงการปรุงอาหารหรือการถนอมอาหาร หรือการรักษาอาหารอย่างถูกต้อง

11. Chef

ผู้ที่จบ Food Science มา สามารถที่จะไปเป็น Chef ที่ประกอบอาหาร เพื่อให้คนรับประทานได้ เนื่องจากมีความรู้เรื่องพื้นฐานอาหารอย่างดี หากมีการฝึกอบรมเพิ่มเติม หรือเรียนรู้เพิ่มเติม ในเรื่องของการประกอบอาหาร ก็จะทำให้ได้ Chef ที่มีคุณภาพ สามารถทำอาหารที่ถูกสุขลักษณะและรู้ซึ้งถึงกระบวนการปรุงอาหารได้อย่างดี

12. เป็นที่ปรึกษาของบริษัท

ผู้ที่จบ Food Science มาและมีประสบการณ์มากพอ สามารถจะผันตัวเองมาเป็นที่ปรึกษาของบริษัทให้กับบริษัทเล็กๆได้ เนื่องจากบริษัทเล็กๆ อาจจะยังไม่จำเป็นต้องจ้าง Food Science ที่ประจำตลอดเวลา 24 ชั่วโมง เนื่องจากขนาดของธุรกิจยังเล็กอยู่ ดังนั้น ผู้ที่จบ Food Science จึงมีโอกาสที่เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำ และแนวทางในการบริหารคุณภาพสินค้าในเบื้องต้น สำหรับธุรกิจที่ยังเล็กอยู่ได้

13. เจ้าหน้าที่ห้องแลป หรือบริษัท

เจ้าหน้าที่ที่รับหน้าที่ในการตรวจสอบ หรือออกใบรับรองได้ เกี่ยวกับผลการตรวจสอบคุณภาพของสินค้า หรือส่วนประกอบของสินค้า ก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ ผู้ที่จบ Food Science และมีประสบการณ์สูง ๆ และมีทุนเพียงพอ ที่จะซื้อเครื่องไม้เครื่องมือที่มีคุณภาพที่ดี และจำเป็นที่ต้องใช้ในการตรวจสอบผลแลปต่างๆ ก็จะสามารถให้บริการทางด้านห้องแลปกับลูกค้าทั้งรายเล็กและรายใหญ่ได้ในที่สุด

สรุป ผู้เรียนจบไปทางด้าน Food Science สามารถประกอบอาชีพได้ทั้งในทั้งด้านวิชาการ ทางด้านเทคนิคห้องปฏิบัติการ หรือ ทางด้านการพาณิชย์ในเรื่องของการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่าย แต่ความรู้พื้นฐานของทางด้าน Food Science ถือว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากต่อความปลอดภัยของผู้บริโภคในภาพรวมก็หาจุดเริ่มต้นของการผลิตสินค้ามีความถูกต้องปลอดภัยผู้บริโภคก็จะได้รับความปลอดภัยที่ปลายทางเช่นกันอีกทั้ง Food Science ยังเป็นพื้นฐานของการพัฒนาสู่สิ่งใหม่ๆหรือสร้างนวัตกรรมใหม่ๆเกี่ยวกับโครงการอาหารได้เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความรู้พื้นฐานลึกซึ้งเกี่ยวกับส่วนประกอบต่างๆในการผลิตอาหารจึงเป็นสายอาชีพที่น่าเรียนและน่าทำงานอีกฝ่ายหนึ่ง แต่สิ่งสำคัญก็คือผู้ที่สนใจจะเรียนด้านFood Science จริงๆจะต้องเป็นผู้ที่รักในการประกอบอาหารและเป็นผู้ที่หลงใหลในการใช้เวลาเกี่ยวกับการทำอาหาร มิฉะนั้น จะเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายจึงต้องเป็นคนที่ชอบการประกอบอาหารที่จะทำให้ทำงานได้อย่างมีความสุขได้ในที่สุด