fbpx
10ก.พ.

วิศวกรโซล่าเซลล์ ทำหน้าที่อะไรบ้าง?

วิศวกรโซล่าเซลล์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบตั้งแต่ เริ่มออกแบบระบบเพื่อให้มีปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้าเพียงพอกับความต้องการภายใต้งบประมาณที่เหมาะสม เนื่องจากโซล่าเซลล์ในปัจจุบันยังมีราคาสูงมาก ดังนั้น การลงทุนเพื่อให้มีปริมาณไฟฟ้าที่เหมาะสมที่ใช้งานได้จริง จึงเป็นสิ่งสำคัญในการลงทุนให้คุ้มค่าที่สุดกับความต้องการใช้งาน เพราะหากลงทุนสูงเกินไปมันก็จะกลายเป็น Over Investment แล้วใช้พลังงานไม่คุ้มค่า เพราะพลังงานที่เหลือจากการใช้นี้ ถ้าหากไม่สามารถเก็บสะสมในแบตเตอรี่ได้ จะทำให้เป็นการสูญเสียเปล่าประโยชน์และเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า และไม่สามารถคืนทุนได้ในเวลาที่เหมาะสมหรือยาวนานเกินไป

เมื่อออกแบบระบบเสร็จแล้ว วิศวกรโซล่าเซลล์ ก็มีหน้าที่จัดหาอุปกรณ์ต่างๆให้มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยไม่ใช่ว่า จะใช้อุปกรณ์หรือวัสดุอะไรก็ได้มาทำโซล่าเซลล์ เนื่องจากโซล่าเซลล์เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความร้อนและกระแสไฟฟ้า ซึ่งส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้

ความร้อน หมายถึง แผงโซล่าเซลล์ที่วางอยู่บนหลังคานั้นจะต้องสัมผัสแดดอยู่ตลอดเวลา หากคุณภาพของแผงโซล่าเซลล์ไม่ดีพอ อาจจะเกิดการเผาไหม้ ทำให้บ้านเรือนถูกเผาไหม้ได้ เพราะมีการสะสมความร้อนที่มากพอแต่วัสดุที่ใช้ทำแผงโซล่าเซลล์ไม่ดีพอ จึงไม่สามารถทนความร้อนได้ เกิดการเผาไหม้ในที่สุด หรือวัสดุที่เป็นเกี่ยวกับเรื่องของตัวแปลงพลังงานแสงอาทิตย์มาให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นระบบกระแสตรงหรือกระแสสลับ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะจะต้องเป็นตัวที่ทำงานตลอดเวลาหากคุณภาพของอุปกรณ์ต่างๆไม่ดี จะเกิดความร้อนและเกิดการลัดวงจรหรือเผาไม่ได้ในที่สุด รวมไปถึงสายไฟที่ใช้ในระบบต่างๆ ก็ต้องมีคุณภาพที่ดีพอ เพราะในความเป็นจริงแล้วโซล่าเซลล์หรือกระแสไฟฟ้าจากทางการไฟฟ้า ก็เป็นเรื่องเดียวกัน เพียงแต่รูปแบบของการได้ต้นกำเนิดพลังงานมานั้นแตกต่างกันเท่านั้นเองมาตรฐานความปลอดภัยก็ภายใต้สิ่งเดียวกัน คือสุดท้ายต้องเกี่ยวข้องกับกระแสไฟฟ้า

นอกจากนี้ ยังต้องรวมไปถึงการวางแผนในการซ่อมบำรุงระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุปกรณ์การใช้ในการซ่อมบำรุงที่เป็นอะไหล่หรืออุปกรณ์ที่อาจจะต้องใช้ทดแทนในกรณีที่อะไหล่เดิมหมดสภาพและไม่มีการผลิตเพิ่มเติมมาให้ใช้ทดแทน จึงต้องใช้อะไรเทียบหรืออะไรที่ผลิตขึ้นมาใหม่ก็ใช้แทนที่กันได้ จึงต้องวางแผนเรื่องของอะไหล่ให้ดี รวมไปถึงการวางแผนการซ่อมบำรุง ราย 3 เดือนราย 6 เดือน รายปี เพราะนั่นหมายถึง ค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นเรื่องของค่าแรง และการทำความสะอาด เนื่องจากแผงโซล่าเซลล์อยู่บนหลังคา จะต้องมีฝุ่นอยู่ตลอดเวลา การทำความสะอาดโซล่าเซลล์บนหลังคา จึงเป็นเรื่องจำเป็นและต้องทำบ่อยๆ ไม่เช่นนั้นประสิทธิภาพหรือพลังงานที่ได้จะไม่เต็มที่เนื่องจากแผงถูกฝุ่นปกคลุม ทำให้ไม่สามารถรับพลังงานแสงอาทิตย์ได้เต็มที่ รวมไปจนถึงการซ่อมบำรุงตั้งแต่แผงโซล่าเซลล์ไปจนถึงใช้งานปลายทาง ต้องมีความพร้อมของงบประมาณไว้ รวมไปถึงค่าแรงในการซ่อมบำรุงด้วย

ดังนั้น การลงทุนเรื่องโซล่าเซลล์จึงไม่ใช่เป็นการลงทุนครั้งเดียวแล้วจบ มีการลงทุนต่อไปในอนาคตและยังมีเรื่องของการซ่อมบำรุงรักษาเพื่อความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพการใช้งานสูงสุด แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องเตรียมงบประมาณไว้ระยะยาวด้วยมิใช่เพียงแค่เตรียมงบประมาณไว้สำหรับการลงทุนอย่างเดียวในครั้งแรก อาจจะทำให้การลงทุนนั้นเสียเปล่า เมื่อระบบการซ่อมบำรุงหรือการดูแลรักษาไม่ดีพอ ประสิทธิภาพไม่ดีพอ ความคุ้มค่าก็จะไม่เกิดขึ้นและสุดท้ายก็เลิกใช้ไปทำให้เป็นการลงทุนสูญเปล่าในที่สุด

หน้าที่หลักของวิศวกรโซล่าเซลล์

👉1. ออกแบบระบบโซล่าเซลล์ ซึ่งระบบโซล่าเซลล์จะมีหลักๆด้วยกันอยู่ 3 ระบบก็คือ 

ระบบที่ 1 ที่เรียกว่าระบบ On grid เป็นระบบที่ใช้โซล่าเซลล์ร่วมกับกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าพร้อมกัน โดยจะไม่มีการเก็บพลังงานลงแบตเตอรี่ไว้ใช้ในยามกลางคืน ระบบนี้หมายถึงจะต้องใช้พลังงานโซล่าเซลล์เฉพาะในเวลากลางวันร่วมกับกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าในเวลากลางวัน ส่วนกลางคืนนั้น จะเป็นการใช้เฉพาะของกระแสไฟฟ้าที่มาจากการไฟฟ้าเท่านั้น

ระบบที่ 2 เรียกว่าระบบ Off grid เป็นระบบโซล่าเซลล์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการไฟฟ้าเลย ส่วนใหญ่มักจะใช้อยู่ในระบบที่เรียกว่า Stand  alone เช่น บ้านพักที่อยู่ในจุดที่ไม่มีการไฟฟ้าเข้าถึง ระบบ Off grid ก็สามารถใช้ในพื้นที่ ที่มีการไฟฟ้าเข้าถึงได้เพียงแต่จะต้องแยกใช้กับอุปกรณ์ที่ไม่เชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าเลย นั่นหมายถึงว่า อุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านั้นมีความตั้งใจที่จะใช้พลังงานโซล่าเซลล์อย่างเดียว 100% เลยไม่ใช้พร้อมกับการไฟฟ้าในเวลาเดียวกัน ซึ่งระบบโซล่าเซลล์แบบนี้จะต้องมีแบตเตอรี่สำรองเพื่อเก็บไฟไว้ใช้ในยามกลางคืนด้วย

ระบบที่ 3 เรียกว่าระบบไฮบริด เป็นระบบที่ ต้องขออนุญาตการไฟฟ้า เนื่องจากจะต้องมีการใช้พลังงานโซล่าเซลล์ร่วมกับการไฟฟ้าโดยมีการเก็บพลังงานโซล่าเซลล์ลงในแบตเตอรี่ด้วย ซึ่งสิ่งนี้ต้องได้รับอนุญาตจากการไฟฟ้าก่อน จะต้องมีการบริหารความต้องการใช้ไฟทั้งของฝั่งโซล่าเซลล์ที่ใช้ในเวลาปกติและมีเวลาที่ใช้ในยามกลางคืนจากแบตเตอรี่ ไปผสมกับระบบไฟฟ้าที่มาจากการไฟฟ้า จึงทำให้ต้องขออนุญาตการไฟฟ้า เนื่องจากการไฟฟ้าจะต้องบริหารจัดการเรื่องของความต้องการพลังงานไฟฟ้าในภาพรวม

👉2. เก็บข้อมูลลูกค้า

เก็บข้อมูลด้านความต้องการในการใช้งานของลูกค้าให้ครบ ว่ามีความต้องการใช้งานอย่างจริงจังแค่ไหน ใช้มากแค่ไหน ใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง เพราะสิ่งนี้จะนำไปสู่การคำนวณขนาดของแผงโซล่าเซลล์ที่จะต้องติดตั้งเพื่อให้การใช้งานมีความเพียงพอในชีวิตจริง พลังงานโซล่าเซลล์ในแต่ละวันอาจจะใช้เวลาเพียงแค่ 4-6 ชั่วโมงในการสะสมพลังงาน หรือสร้างพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีความร้อนมากเพียงพอในช่วงเวลาแค่ประมาณ 4-6 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น ดังนั้น การเผื่อปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่างๆให้เพียงพอ จึงเป็นเรื่องสำคัญและต้องคำนวณด้วยความแม่นยำ

👉3. ทดสอบประสิทธิภาพ

ต้องมีการทดสอบตัวสินค้าต่างๆที่มาใช้ในระบบโซล่าเซลล์ เริ่มตั้งแต่ตัวแผงโซล่าเซลล์ซึ่งมีความแตกต่างกันระหว่างเป็นแผงที่เป็นโมโนกับแผงที่เป็นโพลี ซึ่งจะใช้จำนวนแผนที่ไม่เท่ากันในความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เท่ากัน ต่อเนื่องไปด้วยตัวแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นพลังงานไฟฟ้าหรือที่เรียกว่า Inverter และรวมไปถึงตัวที่ทำหน้าที่เป็นตัวชาร์จไฟเข้าสู่แบตเตอรี่หรือที่เรียกว่า Charger ในกรณีที่ใช้แบบ Office หรือแบบไฮบริด เพราะประสิทธิภาพในการชาร์จไฟ จะส่งผลต่อความสามารถในการเก็บพลังงานไฟฟ้าลงในแบตเตอรี่ รวมไปถึงการทดสอบประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ที่จัดหามาเพื่อสำรองไฟว่า สามารถเก็บไฟได้เต็มประสิทธิภาพตามที่คำนวณไว้หรือไม่ เพราะทุกกรณี จะส่งผลกับจำนวนปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ต้องการใช้จริงกับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่เก็บได้จริง หรือมีผลมาจากประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์ตัวแปลงไฟฟ้า Inverter ตัวชาร์จกระแสไฟฟ้าชาร์จเจอร์และคุณภาพของแบตเตอรี่ที่เป็น  Deep Cell

👉4. วิจัยและพัฒนาระบบ

วิจัยและออกแบบพัฒนาระบบที่จะติดตั้ง ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดภายใต้งบประมาณต่ำที่สุด โดยการออกแบบระบบดังกล่าวต้องใช้ความรู้ด้านวิศวกรไฟฟ้าอย่างชัดเจนในเรื่องของการคำนวณโหลดการวางแผนการเดินสายไฟ การเลือกจำนวนแผงและคุณภาพของแผงและอุปกรณ์ต่อเนื่องทั้งหมด

👉5. ตรวจสอบมาตราฐาน

ทบทวน ตรวจสอบ Drawing specification BOQ เพื่อควบคุมงบประมาณและวางแผนการติดตั้งให้สำเร็จลุล่วงไปตามมาตรฐานและกำหนดการที่วางไว้

👉6. สำรวจพื้นที่

ทำหน้าที่ไซต์เซอร์เวย์ที่ต้องไปดูงานหน้างานอย่างแท้จริงก่อนที่จะกลับมาออกแบบระบบที่จะวางไว้ในการติดตั้งเพราะการได้มองเห็นหน้างานอย่างแท้จริงจะทำให้มองเห็นอุปสรรคหรือสิ่งที่จะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากการติดตั้งที่ยากขึ้นหรือมีอุปสรรคขัดขวางจนกระทำการแก้ไขเอกสารหน้างานเพิ่มเติมนอกเหนือจากการออกแบบระบบ drawing

👉7. ขาย

ทำหน้าที่ในการขายระบบ ขายคุณภาพของอุปกรณ์ที่มีอยู่เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าในการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์โดยสิ่งที่ต้องเน้นมากที่สุดก็คือเรื่องของความปลอดภัย