fbpx
15ม.ค.

เปิดอัตราค่าแรงขั้นต่ำ 2567 ตามมติเดิมของบอร์ดค่าจ้าง เมื่อ 8 ธันวาคม 2566 เคาะปรับขึ้น 2-16 บาท แต่ละจังหวัดปรับขึ้นเท่าไร ?

จากกรณีที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยึดอัตราค่าแรงขั้นต่ำตามมติเดิม เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 ซึ่งเดิมมีการเสนอไปยังที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแล้ว และนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มีการดึงเรื่องดังกล่าวกลับมาทบทวนโดยสาเหตุของการดึงเรื่องกลับไปทบทวนนั้น นายพิพัฒน์ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 87 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ซึ่งตัวเลขค่าแรงขั้นต่ำที่คณะกรรมการค่าจ้างใช้เป็นหลักเกณฑ์ขึ้นค่าแรงที่เอาตัวเลขต่าง ๆ ย้อนหลัง 5 ปีมาคำนวณเฉลี่ยนั้น เป็นการนำตัวเลข 2563-2564 มาร่วมพิจารณาด้วย
ซึ่งเป็นปีที่เศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง ติดลบมาก ๆ เพราะโควิด-19 การนำตัวเลข 2 ปีนี้มาคำนวณด้วยจะทำให้ได้ตัวเลขต่ำกว่าความเป็นจริง และผิดมาตรฐาน จึงน่าจะนำออกไป
ครม.รับทราบและแสดงความเห็นด้วยในข้อสังเกตนั้น ครม.ให้สิทธิกับ รมว.แรงงานว่าจะยืนยันเสนอให้รับทราบหรือไม่ นายพิพัฒน์จึงขอถอนไปก่อน จึงเท่ากับ ครม.ได้ยินเฉย ๆ ยังไม่ได้รับทราบอย่างเป็นทางการ

สรุปมติเดิม บอร์ดค่าจ้าง เคาะอัตราค่าแรงขั้นต่ำเท่าไร ?
สำหรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำต่อวัน ปี 2567 ที่คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 เคาะไปรอบแรก ดังนี้

  1. 370 บาท 1 จังหวัด
  • จังหวัดภูเก็ต (เดิม 354 บาท)
  1. 363 บาท 6 จังหวัด
  • กรุงเทพมหานคร (เดิม 353 บาท)
  • จังหวัดนครปฐม (เดิม 353 บาท)
  • นนทบุรี (เดิม 353 บาท)
  • ปทุมธานี (เดิม 353 บาท)
  • สมุทรปราการ (เดิม 353 บาท)
  • สมุทรสาคร (เดิม 353 บาท)
  1. 361 บาท 2 จังหวัด
  • ชลบุรี (เดิม 354 บาท)
  • ระยอง (เดิม 354 บาท)
  1. 352 บาท 1 จังหวัด
  • นครราชสีมา (เดิม 340 บาท)
  1. 351 บาท 1 จังหวัด
  • สมุทรสงคราม (เดิม 338 บาท)
  1. 350 บาท 6 จังหวัด
  • พระนครศรีอยุธยา (เดิม 343 บาท)
  • สระบุรี (เดิม 340 บาท)
  • ฉะเชิงเทรา (เดิม 345 บาท)
  • ปราจีนบุรี (เดิม 340 บาท)
  • ขอนแก่น (เดิม 340 บาท)
  • เชียงใหม่ (เดิม 340 บาท)
  1. 349 บาท 1 จังหวัด
  • ลพบุรี (เดิม 340 บาท)
  1. 348 บาท 3 จังหวัด
  • สุพรรณบุรี (เดิม 340 บาท)
  • นครนายก (เดิม 338 บาท)
  • หนองคาย (เดิม 340 บาท)
  1. 347 บาท 2 จังหวัด
  • กระบี่ (เดิม 340 บาท)
  • ตราด (เดิม 340 บาท)
  1. 345 บาท 15 จังหวัด
  • กาญจนบุรี (เดิม 335 บาท)
  • ประจวบคีรีขันธ์ (เดิม 335 บาท)
  • สุราษฎร์ธานี (เดิม 340 บาท)
  • สงขลา (เดิม 340 บาท)
  • พังงา (เดิม 340 บาท)
  • จันทบุรี (เดิม 338 บาท)
  • สระแก้ว (เดิม 335 บาท)
  • นครพนม (เดิม 335 บาท)
  • มุกดาหาร (เดิม 338 บาท)
  • สกลนคร (เดิม 338 บาท)
  • บุรีรัมย์ (เดิม 335 บาท)
  • อุบลราชธานี (เดิม 340 บาท)
  • เชียงราย (เดิม 332 บาท)
  • ตาก (เดิม 332 บาท)
  • พิษณุโลก (เดิม 335 บาท)
  1. 344 บาท 3 จังหวัด
  • เพชรบุรี (เดิม 335 บาท)
  • ชุมพร (เดิม 332 บาท)
  • สุรินทร์ (เดิม 335 บาท)
  1. 343 บาท 3 จังหวัด
  • ยโสธร (เดิม 335 บาท)
  • ลำพูน (เดิม 332 บาท)
  • นครสวรรค์ (เดิม 335 บาท)
  1. 342 บาท 5 จังหวัด
  • นครศรีธรรมราช (เดิม 332 บาท)
  • บึงกาฬ (เดิม 335 บาท)
  • กาฬสินธุ์ (เดิม 338 บาท)
  • ร้อยเอ็ด (เดิม 335 บาท)
  • เพชรบูรณ์ (เดิม 335 บาท)
  1. 341 บาท 5 จังหวัด
  • ชัยนาท (เดิม 335 บาท)
  • สิงห์บุรี (เดิม 332 บาท)
  • พัทลุง (เดิม 335 บาท)
  • ชัยภูมิ (เดิม 332 บาท)
  • อ่างทอง (เดิม 335 บาท)
  1. 340 บาท 16 จังหวัด
  • ระนอง (เดิม 332 บาท)
  • สตูล (เดิม 332 บาท)
  • เลย (เดิม 335 บาท)
  • หนองบัวลำภู (เดิม 332 บาท)
  • อุดรธานี (เดิม 328 บาท)
  • มหาสารคาม (เดิม 332 บาท)
  • ศรีสะเกษ (เดิม 332 บาท)
  • อำนาจเจริญ (เดิม 332 บาท)
  • แม่ฮ่องสอน (เดิม 332 บาท)
  • ลำปาง (เดิม 332 บาท)
  • สุโขทัย (เดิม 332 บาท)
  • อุตรดิตถ์ (เดิม 335 บาท)
  • กำแพงเพชร (เดิม 332 บาท)
  • พิจิตร (เดิม 332 บาท)
  • อุทัยธานี (เดิม 332 บาท)
  • ราชบุรี (เดิม 332 บาท)
  1. 338 บาท 4 จังหวัด
  • ตรัง (เดิม 332 บาท)
  • น่าน (เดิม 328 บาท)
  • พะเยา (เดิม 335 บาท)
  • แพร่ (เดิม 332 บาท)

17.330 บาท 3 จังหวัด

  • นราธิวาส (เดิม 328 บาท)
  • ปัตตานี (เดิม 328 บาท)
  • ยะลา (เดิม 328 บาท)


ที่มา : กระทรวงแรงงาน และกรมประชาสัมพันธ์