fbpx
02ก.พ.

OT คือค่าล่วงเวลาที่นายจ้างต้องให้เมื่อลูกจ้างต้องทำงานเกิน 8 ชม.ต่อวัน เป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันและเวลาทำงานปกติ โดยลูกจ้างมีสิทธิเลือกว่าจะทำหรือไม่ทำก็ได้ นายจ้างไม่มีสิทธิในการไปบังคับให้ทำได้

ดังนั้น นายจ้างย่อมไม่มีสิทธิมากำหนดการจ่าย OT แบบเหมาจ่ายทั้งบริษัทได้ ต้องจ่ายให้กับลูกจ้างตามที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ว่า การจ่ายค่าล่วงเวลาในวันทำงาน ให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างได้มีการทำงานที่ล่วงเวลาในวันทำงาน โดยให้จ่ายในอัตราที่ไม่น้อยกว่า 1.5 ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน ส่วนการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด จะได้คิดในอัตรา 3 เท่า ของอัตราค่าจ้างเวลาทำงานปกติ

หากนายจ้างทำผิดโดยไม่ชอบด้วยข้อกฎหมาย และยังยึดการกำหนดจ่าย OT แบบเหมาจ่ายกับลูกจ้างทั้งบริษัทอยู่ จะถูกกฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายที่มีบทลงโทษทางอาญา นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม จะต้องระวางโทษขั้นต่ำปรับไม่เกิน 5,000 บาท จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยนายจ้างต้องชำระค่าปรับภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งผลคดี คดีอาญา