fbpx
18มิ.ย.

มาถึงตรงนี้ จึงอยากจะบอกว่าในการทำธุรกิจ ดำเนินกิจการนั้น ไม่ได้หมายความว่าใครมีทรัพย์สินมากกว่ากันคนนั้นจะเก่งกว่า สิ่งที่จะบอกได้ ก็คือ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเทียบกับทรัพย์สิน หรือเรียกว่า กำไรจากการดำเนินการเทียบกับทรัพย์สินทั้งหมด ถ้าตัวเลขนี้ยิ่งสูง นั่นหมายความว่า ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพย์สินให้เกิดรายได้จากการขายถือว่าดีมาก มีประสิทธิภาพมากกว่า

ในส่วนของทรัพย์สินนั้นมันก็ยังแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ทรัพย์สินระยะสั้น กับ ทรัพย์สินถาวร 2 ส่วนนี้ ก็ต้องนำมาคิดเช่นกัน ทรัพย์สินระยะสั้น คือทรัพย์สินหมุนเวียนที่ใช้ในการสร้างยอดขาย หมายความว่า ยอดขายมาก ก็อาจจะต้องมีทรัพย์สินระยะสั้นมาก เช่น สต๊อกสินค้าที่มากตามยอดขาย เมื่อมีทรัพย์สินก็ต้องมีหนี้สินตามมา จึงมีสิ่งที่เรียกว่า เงินทุนหมุนเวียนหรือ Working Capital จะมีค่าเท่ากับทรัพย์สินหมุนเวียนหักล้างกับหนี้สินหมุนเวียน

สิ่งที่ต้องระวังก็คือ หากทรัพย์สินหมุนเวียนน้อยแต่หนี้สินหมุนเวียนสูง นั่นหมายความว่า เรากำลังมีปัญหาเรื่องสต๊อกหรือเปล่า คือซื้อสินค้ามาแต่ไม่สามารถหมุนออกไปเป็นยอดขายสร้างรายได้และสร้างกำไรกลับมาได้ จึงทำให้อัตราส่วนของทรัพย์สินหมุนเวียน น้อยกว่า หนี้สินหมุนเวียน💸

เมื่อมีหนี้สินหมุนเวียน💸 นั่นหมายความว่า มีภาระผูกพัน ที่จะต้องชำระทั้งดอกเบี้ยและเงินต้นให้กับซัพพลายเออร์ ถ้าสินค้าตัวนี้หมุนไม่ออกหรือหมุนช้าเกินไป ก็ไม่สามารถจะมีเงินหมุนกลับมาเพื่อมาชำระหนี้สิน Supplier เมื่อถึงดีลชำระเงินได้ ก็จะเกิดสภาวะเงินทุนหมุนเวียนติดขัด ไม่มีสภาพคล่อง เราจึงจะเห็นได้ว่า การบริหารจัดการบริษัทนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ตั้งแต่การลงทุนทรัพย์สินถาวรเพื่อเป็นพื้นฐานในการผลิตสินค้า หรือดำเนินกิจการ รวมไปถึงการบริหารจัดการทรัพย์สินระยะสั้น ให้สมดุลกับ หนี้สินระยะสั้น โดยเฉพาะในส่วนของสินค้าคงคลังหรือสต๊อกสินค้า หากเราบริหารสต๊อกไม่ดี มีมากเกินไป ภาระดอกเบี้ยและภาระเงินต้น ที่ต้องชำระให้กับเจ้าหนี้ เมื่อถึงกำหนดชำระเงิน ก็จะทำให้เราเกิดปัญหาสภาพคล่องทันที ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าในการบริหารบริษัทนั้น มีความเสี่ยงในหลายๆมิติ แต่ในเรื่องของความเสี่ยงนั้น ก็จะมีเรื่องของผลตอบแทนที่คุ้มค่าตามประเภทของความเสี่ยงนั้นด้วยเช่นกัน เหมือนที่เขาบอกว่า High risk High return

นอกจากความสามารถในการบริหารสินทรัพย์และหนี้สินแล้ว ความสามารถในการทำกำไร ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่ผู้ดำเนินกิจการต้องพยายามทำให้มีกำไรเบื้องต้นที่มากเพียงพอ ด้วยการบริหารจัดการต้นทุนสินค้าในเบื้องต้นไม่ให้สูงเกินไป เช่น กรณีที่มียอดขาย 100 บาท แต่หากต้นทุนสินค้ามีค่าเกิน 70 บาทแล้ว ย่อมเป็นการยากที่จะมีกำไรเบื้องต้นมากเพียงพอที่จะไปชำระค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ เช่น ค่าแรง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าตึก เงินเดือน ค่าใช้จ่ายในการขาย ซึ่งปกติแล้ว ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ จะมีอยู่ประมาณ 15-20% ถ้ากำไรเบื้องต้นมี 30% หักค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปแล้ว 15-20% ก็จะมีกำไรเหลืออยู่ 10-15% แต่ยังม่จบ เพราะจะต้องไปชำระดอกเบี้ยเงินกู้ ที่กู้มาในดำเนินกิจการ จึงจะเหลือกำไรที่ไปจ่ายภาษีในขั้นตอนสุดท้าย และเป็นกำไรสุทธิ หรือ ที่เรียกว่ากำไรแท้จริงที่จับต้องได้หลังจากจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว ไปเทียบกับยอดขาย จึงจะบ่งบอกได้ว่าผลตอบแทนที่ได้นั้น เทียบกับการเอาเงินฝากธนาคาร อันไหน คือ กิจกรรมที่ควรทำมากกว่ากัน

อีกเรื่องหนึ่ง ที่เราจะต้องพูดถึง ก็คือ การดำเนินกิจการตัวชี้วัดอีกตัวหนึ่งที่เขาเรียกว่าอัตราผลตอบแทนภายใน  Internal Rate of Return ซึ่งตัวนี้ จะคำนวณมาจากการพยากรณ์ยอดขายล่วงหน้า 5 ปีข้างหน้า โดยคำนวณจาก Net Cash ที่เกิดจากการหาค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว แล้วนำมาคำนวณเป็นค่าปัจจุบันจากปีต่าง ๆ ย้อนกลับมา หรือที่เขาเรียกว่าแปลงค่าจาก มูลค่าเงินในอนาคต Future Worth ของแต่ละปีในอนาคต กลับมาเป็นมูลค่าเงินในปัจจุบัน Present Worth แล้วนำเงินทั้งหมดนั้น มาเทียบกับเงินลงทุนในปีปัจจุบันที่เรากำลังจะลงทุนไปเพื่อหวังผลตอบแทนในอนาคตอีก 3-5 ปีข้างหน้า สิ่งนี้ถึงจะเรียกว่าเป็นอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนภายใน หรือพูดภาษาชาวบ้านง่าย ๆ ก็คือ ลงทุนเงินวันนี้ เพื่อดำเนินกิจการในแต่ละปี จะได้กำไรสุทธิเท่าไหร่รวมกัน 5 ปี แล้วคำนวณย้อนกลับมาเป็นมูลค่าปัจจุบัน เทียบกับ เงินลงทุนปัจจุบัน มันให้อัตราผลตอบแทนเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ นั่นคือ สิ่งที่จะต้องคิดพิจารณาในการลงทุนจัดตั้งบริษัทเพื่อดำเนินกิจการใดๆ

  • ขั้นตอนที่ 1 เริ่มต้นจาก ยอดขาย
  • ขั้นตอนที่ 2 คือ ต้นทุนสินค้า ที่นำมาเพื่อจำหน่าย เมื่อเอายอดขายหักต้นทุนสินค้าแล้วเราจะได้กำไรเบื้องต้น จากการดำเนินกิจการหรือที่เรียกว่า Gross Profit ตัวนี้เป็นตัวแรกที่จะพยากรณ์ไปถึงตอนจบได้ว่ากิจการนี้ จะคุ้มค่าการลงทุนหรือขาดทุนในที่สุด

หลังจากที่เราได้กำไรเบื้องต้นแล้ว ก็ต้องไปคำนวณว่า ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ จนกระทั่งทุกอย่างเสร็จสิ้นสมบูรณ์นั้นเป็นเท่าไหร่ ซึ่งจะมี 2 ส่วนประกอบกัน คือ ส่วนหนึ่งเรียกว่าเป็น Fixed Cost หรือต้นทุนประจำ หมายความว่า ไม่ว่าจะขายได้หรือขายไม่ได้เลยแม้แต่บาทเดียวในวันนั้น เราก็ต้องจ่ายพวกนี้ ทุก ๆ วันเสมอ เช่น ค่าไฟค่า น้ำค่าเช่าตึก เงินเดือนพนักงานอีก

ส่วนหนึ่งที่อยู่ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการดำเนินการก็คือ ค่าใช้จ่ายผันแปร ซึ่งอันนี้จะเกี่ยวข้องกับ ค่าขนส่งและค่าการผลิตสินค้า ยิ่งผลิตมาก ค่าใช้จ่ายผันแปรตัวนี้ก็จะมีมากตาม หรือ หากมีการขายมาก ค่าใช้จ่ายในการขนส่งก็จะมากตามไปด้วย เราจึงเรียกว่า ค่าใช้จ่ายผันแปร ประเด็นที่สำคัญก็คือ หากมีค่าใช้จ่ายประจำที่สูงเกินไป โอกาสที่กิจการจะขาดทุนมีสูงมาก เพราะเราอาจจะมียอดขายไม่สูงมากพอ ที่จะมาชดใช้ค่าใช้จ่ายประจำวันนี้ได้

ยังไม่รวมถึง ค่าใช้จ่ายปันแปรที่จะต้องคิดเช่นกันในการขายสินค้าแต่ละครั้ง ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดในการดำเนินการ ก็คือ จะต้องมีค่าใช้จ่ายในการจ่ายประจำ Fixed Cost ให้น้อยที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดภาระที่สูงเกินไป เมื่อยามใดก็ตามที่ยอดขายไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ก็จะทำให้ไม่มีค่าใช้จ่ายประจำที่สูงค้ำคออยู่และไม่สามารถเดินต่อไปได้

เมื่อเราได้ กำไรขั้นต้น แล้วหักค่าใช้จ่ายผันแปร หักค่าใช้จ่ายประจำ เราถึงจะเริ่มเรียกว่า เราได้กำไรจากการดำเนินการ ซึ่งในส่วนนี้จะเริ่มเป็นกำไรที่แท้จริงที่เราเริ่มจับต้องได้แล้ว หากกรณีที่เราไม่ได้มีภาระดอกเบี้ยเงินกู้ ที่ไปกู้เข้ามาทำกิจการ เราก็ไม่จำเป็นต้องเสียดอกเบี้ยให้ใครก็จะกลายเป็นกำไรก่อนเสียภาษีเมื่อเราดำเนินกิจการและมีกำไร เราก็ต้องเสียภาษี และเมื่อเราเสียภาษีแล้ว สิ่งนั้นจึงจะเรียกว่าเป็นกำไรสุทธิที่แท้จริง ที่เราไม่ต้องจ่ายอะไรอีกแล้ว เป็นกำไรที่ตกถึงมือเราในที่สุดอย่างแท้จริง

แต่หากกำไรในเบื้องต้นของเรามีไม่มาก โอกาสที่กำไรจากการดำเนินการของเราก็จะมีไม่มากเช่นกันแล้วมันจะพอกับภาระดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายหรือไม่ แล้วหลังจากเสียภาษีแล้ว เราจะเหลือกำไรสุทธิเท่าไหร่ นี่คือ ความยากในการดำเนินธุรกิจ ร้านค้าเล็ก ๆ ส่วนใหญ่ จะมักไม่เข้าใจเรื่องพวกนี้ และจะทำให้เข้าใจผิดเสมอว่าการค้าขายมีกำไร อยู่ได้ แต่กับประหลาดใจว่ายิ่งขายมากเท่าไหร่ เงินในธนาคารยิ่งหายไปมากเท่านั้น เหมือนเงินมันไม่เพิ่ม มีแต่ลดลง เหตุผลมาจาก ความไม่เข้าใจในเรื่องของโครงสร้างต้นทุนอย่างถูกต้องและชัดเจน จึงทำให้กำไรที่ได้ เป็นกำไรหลอกโดยที่เราไม่รู้ตัว ยิ่งขายมากก็ยิ่งขาดทุนมาก นี่ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ร้านค้าเล็ก ๆ ทั่วไป ยังอาจไม่เข้าใจเรื่องเงินทองลักษณะนี้

ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นกิจการใหญ่โตหรือกิจการเล็ก ๆ น้อย ๆ โครงสร้างต้นทุนหรือการคิดกำไร ก็ใช้หลักการเดียวกัน เพียงแต่ตัวเลขที่ใช้ในการพูดคุยนั้น สูงค่าไม่เท่ากัน กิจการเล็ก ๆ ก็อาจจะคุยกันที่หลักแสนกิจการใหญ่ ๆ ก็อาจจะคุยกันที่หลากหลายสิบล้าน หลายร้อยล้าน แต่ไม่ว่าจะเป็นกิจการใด ๆ ก็ต้องใช้หลักการเดียวกัน ในการดำเนินการ ต้องรู้ต้องเข้าใจเรื่องของต้นทุนกำไรในแต่ละขั้นตอน ถึงกำไรสุทธิที่อยู่ในมือเราจริงๆ