แชร์เทคนิคการบริหารเงินทุน พร้อมแหล่งเงินทุนที่เจ้าของกิจการมือใหม่ต้องรู้!!
ในการดำเนินธุรกิจนั้น เงินทุนหมุนเวียนเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะคือสิ่งที่จะช่วยผลักดันให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้โดยไม่สะดุด หากธุรกิจขาดเงินทุนหมุนเวียน การดำเนินงานก็จะหยุดชะงักลง การได้มาซึ่งเงินทุนหมุนเวียนจะมีแหล่งที่ได้มาจากหลายๆ แหล่ง แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
กลุ่มที่ 1 เรียกว่าเงินกูหรือเงินของเราเองกับ เช่น เงินจากผู้ถือหุ้น
กลุ่มที่ 2 เรียกว่าเงินกู้ หรือเงินของคนอื่น ซึ่งในกลุ่มที่ 2 นี้ จะมีเรื่องของ ภาระดอกเบี้ย ซึ่งเราจะต้องจ่ายตอบแทน ในการกู้เงินยืมมาเพื่อดำเนินกิจการ ไม่ว่าเราจะเอาเงินนี้ไปใช้ในเรื่องใดก็ตาม แต่อย่างน้อยที่สุดเรามีภาระดอกเบี้ยขั้นต่ำที่ต้องชำระเมื่อถึงเวลาที่กำหนด
เรามาดูกันว่าแหล่งเงินแต่ละแหล่งแตกต่างกันอย่างไร
อันแรกที่เรียกว่าเงินกูหรือเงินของเราเอง เป็นเงินที่ได้มาจากผู้ถือหุ้น นำมาลงทุนในกิจการนั้นๆ ซึ่งลักษณะเงินทุนจากแหล่งนี้ จะไม่มีเรื่องของภาระดอกเบี้ยที่ต้องชำระ เนื่องจากเป็นการได้มาของเงินทุนจากการลงทุนของผู้ผู้หุ้นเอง แต่สิ่งนี้จะผูกพันด้วย ความรับผิดชอบ หรือคำมั่นสัญญาที่จะต้องดำเนินกิจการให้มีกำไร เพื่อทำให้มูลค่าหุ้นสูงกว่าราคาเดิมในวันที่จดทะเบียนบริษัทหรือเริ่มทำกิจการบริษัท ซึ่งการทำกำไรนี้ จะไปสู่การปันผล ซึ่งก็เหมือนกับการจ่ายดอกเบี้ยในกรณีที่เราเอาเงินไปฝากธนาคาร หรืออาจจะอยู่ในรูปของกำไรสะสมที่ไม่ได้ปันผลออกมาให้ผู้ถือหุ้นตรงไปตรงมา แต่เป็นลักษณะของการทำให้มูลค่าของบริษัทสูงขึ้นกว่าราคาเดิมที่เริ่มจัดตั้งบริษัท และในอนาคตเมื่อพูดถึงหุ้น จำหน่ายหุ้นออกไปในราคาที่สูง ก็จะทำให้เกิดผลประโยชน์ในรูปแบบของส่วนของต่างราคาที่สูงขึ้นที่ขายไปและได้กำไรกลับมา
อันที่ 2 เงินกู้ เงินทุนลักษณะนี้จะเป็นลักษณะของแหล่งเงินที่มาจากภายนอก ซึ่งไม่ใช่เงินของผู้ถือหุ้นชำระกันเข้ามาเอง ถ้าไม่ได้มาจากธนาคาร ก็อาจจะมาจากแหล่งเงินทุนต่างๆ ที่มีการให้กู้ยืมเงิน โดยจะกำหนด อัตราผลตอบแทนตายตัว หรือที่เรียกว่า ดอกเบี้ยจากการกู้ยืม และยังไม่รวมถึงผลประโยชน์อื่นๆ ที่อาจจะต้องจ่ายชดเชยเพิ่มเติมให้ตามข้อตกลงที่ได้กำหนดกันไว้
แหล่งเงินทุนในแหล่งที่ 2 นี้ ถือว่าเป็นภาระผูกพัน แม้ว่าบริษัทจะทำกำไรได้หรือไม่ก็ตาม ก็มีภาระผูกพันที่จะต้องชำระให้กับผู้ให้กู้หรือเจ้าหนี้ในอัตราผลตอบแทนที่ได้ตกลงกันไว้ตั้งแต่แรก ดังนั้น เงินทุนที่ได้จากการกู้ยืมจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่ต้องระมัดระวังในการนำไปใช้จ่ายหรือลงทุนขยายกิจการ หรือเสริมสภาพคล่องในการทำงาน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนกลับมาในรูปของกำไร ที่จะสามารถชำระค่าดอกเบี้ย และภาระผูกพันเงินต้น ที่เกิดจากการไปกู้เงินมาจากภายนอกเพื่อมาดำเนินกิจการ
ทีนี้เรามาดูกันว่าเงินทุนที่ได้มานี้จะมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือเงินทุนระยะสั้นกับเงินทุนระยะยาว ซึ่งความหมายก็ชัดเจนในตัวอยู่แล้วว่า
เงินทุนระยะสั้นหมายถึงเงินทุนที่ต้องคืนกลับไปในระยะเวลากำหนดที่สั้น อาจจะเป็น 1 ปี หรือแล้วแต่ข้อตกลง
ส่วนเงินทุนระยะยาว หมายถึง เงินทุน ที่มีสัญญาการชำระคืนในระยะยาว ซึ่งอัตราผลตอบแทนอาจจะไม่สูงเท่ากับเงินทุนระยะสั้น เนื่องจากมีภาระผูกพันในระยะยาว แต่ก็ไม่แน่เสมอไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่ข้อตกลงระหว่าง ผู้กู้ กับ ผู้ให้กู้ ว่าจะกำหนดอัตราผลตอบแทนกันอย่างไร
การใช้เงินทุนที่ได้มา การบริหารเงินทุนที่เราได้มา
1. เงินกู้ระยะสั้น ถ้าหากเรามีการกู้เงินระยะสั้นมา สิ่งสำคัญที่เราจะต้องจดจำไว้ คือ เงินก้อนนี้ เราต้องชำระคืนภายในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้น การนำเงินนี้ไปใช้ จึงต้องนำไปใช้ในกิจกรรม หรือการดำเนินกิจการ ที่ให้ผลตอบแทนในระยะสั้น เพื่อให้สามารถจะได้เงินคืนกลับมาโดยเร็วและสามารถชำระเงินต้นคืนให้เขาได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
หากเรานำเงินทุนระยะสั้นหรือเงินกู้ระยะสั้นไปใช้ในการดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ระยะยาวหรือสินทรัพย์ถาวร สิ่งนี้ ถือว่า เป็นอันตรายมาก เพราะเราอาจจะไม่สามารถเรียกเงินกลับมาได้ทันเวลา เมื่อถึงเวลากำหนดที่ต้องชำระเงินกู้ระยะสั้นนี้ คืนให้กับผู้ให้กู้พร้อมดอกเบี้ย เนื่องจากนำเงินกู้ระยัสั้นไปถูกผูกมัดในสินทรัพย์ระยะยาว
สิ่งที่ต้องระมัดระวัง ก็คือ เงินสดบัญชีเจ้าหนี้ เงินกู้ระยะสั้น หรือ ภาระภาษีที่ต้องชำระ สิ่งเหล่านี้ไม่ควรนำไปใช้ในการลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาว เพราะหากมีปัญหาเกิดขึ้น จะทำให้เกิดปัญหาเรื่องของสภาพคล่องทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับภาษี เป็นสิ่งที่อันตรายมาก หากนำเงินที่เราจะต้องเสียภาษีไปใช้อย่างอื่นก่อน แล้วไม่สามารถนำเงินกลับมาคืนได้ภายในเวลากำหนดที่ต้องไปชำระภาษี จะสร้างปัญหาใหญ่ให้กับบริษัททันที เพราะเรื่องภาษีเป็นเรื่องที่จะไม่มีความยืดหยุ่นเลย
2. เงินกู้ระยะยาว เงินกู้ระยะยาว มักจะมีเวลาในการชำระคืนที่ยาวนาน ทำให้งวดการชำระคืนแต่ละงวดนั้นไม่สูงจนเกินไป ทำให้การดำเนินการของกิจการ อาจจะมีเวลามากพอ ที่จะชำระเงินกู้ระยะยาวตามกำหนดเวลา แต่อาจจะทำให้ดอกเบี้ยโดยรวมเมื่อสิ้นสุดโครงการการกู้หรือชำระเงินกู้ระยะยาวครบหมดแล้วเป็นจำนวนดอกเบี้ยที่มากกว่าปกติ เพราะ เราชำระในระยะยาวต่อเนื่อง ดังนั้น จำนวนดอกเบี้ยสะสมจึงสูงขึ้นหากอัตราการทำกำไร ยังมีผลตอบแทนที่ดีที่แตกต่างจากอัตราดอกเบี้ยที่จะต้องชำระไปเรื่อยๆ นั้น จะทำให้เราตัดสินใจได้ว่า การใช้เงินกู้ระยะยาวมาใช้ในสินทรัพย์ระยะยาวนั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้อง เช่น การนำ เงินทุนสำรองหรือเงินกู้ระยะยาว ไปใช้ในทรัพย์สินถาวร ถือว่าเป็นการใช้เงินที่ไม่ผิดประเภท เพราะทรัพย์สินถาวรนั้นจะเปลี่ยนมาเป็นเงินสดได้ช้ามากแต่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ในการดำเนินกิจการ เพื่อให้การผลิตหรือการทำธุรกิจคล่องตัวขึ้นรวดเร็วขึ้น
3. การใช้เงินกู้ระยะสั้น ไปดำเนินกิจการในส่วนที่เป็นสินทรัพย์ระยะสั้น เช่น สินค้าคงคลังหรือยอดขายถือว่าเป็นการลงทุนและการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพถูกต้องตามหลักการเ พราะเงินกู้ระยะสั้น ที่ใช้ในการผลิตสินค้า ซื้อสินค้าคงคลัง แล้วขายสินค้าออกไปเพื่อให้ได้เงินกลับมาในกรอบเวลาที่รวดเร็วใกล้เคียงกัน จะทำให้การดำเนินการชำระทั้ง ดอกเบี้ยและเงินต้น คืนกลับไปยังผู้ให้กู้ได้ทันเวลา ไม่เกิดความเสียหายในการดำเนินกิจการ
4. การใช้เงินกู้ระยะสั้นไปในสินทรัพย์ระยะยาว อันนี้ถือว่า เป็นความผิดพลาดในแนวทางการบริหารการเงินอย่างหนึ่ง เพราะเราใช้เงินกู้ระยะสั้น ไปใช้ในสินทรัพย์ระยะยาว ซึ่งมีความเสี่ยงสูงมากที่เราจะไม่สามารถชำระเงินต้น และดอกเบี้ย ให้กับผู้ให้กู้เงินทุนระยะสั้นได้ทันเวลา จะส่งผลให้การดำเนินกิจการมีความล่าช้าไม่ต่อเนื่อง ยิ่งสร้างปัญหาใหม่ในการสร้างรายได้ในอนาคตในช่วงต่อๆ ไป ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาหนักในการหมุนเงินหรือบริหารเงินสดให้เพียงพอให้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้
ดังนั้นสิ่งที่ไม่ควรทำแน่ๆ ก็คือ เงินทุนหรือเงินกู้ระยะสั้น ห้ามนำไปใช้กับการลงทุนระยะยาวโดยเด็ดขาด เพราะแค่แนวคิดพื้นฐาน ก็มีความเสี่ยงสูงมากแล้ว และความสำเร็จก็มีน้อยมากที่จะสามารถจัดการบริหารสถานการณ์ให้อยู่ในความสามารถที่จะควบคุมได้อย่างชัดเจน
สรุปสิ่งที่ควรจะให้ความสำคัญก็คือ
1. แหล่งเงินทุนที่เป็นเงินจากผู้ถือหุ้น ไม่มีภาระดอกเบี้ย ไม่ต้องคืนเงินต้น แต่ต้องทำกำไรไว้จ่ายเงินปันผล หรือเป็นกำไรสะสมเพื่อเพิ่มมูลค่าหุ้นต่อไป
2. แหล่งเงินทุนที่เป็นเงินกู้จากภายนอก จะมีภาระผูกพันที่ต้องชำระดอกเบี้ยตามกำหนดเวลา พร้อมเงินต้นในกรอบเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งถือว่าเป็นภาระผูกพันที่ชัดเจน และรู้ต้นทุนการเงินที่ชัดเจน
3. การใช้เงินจากแหล่งเงินทุนระยะสั้น ควรต้องใช้ในการลงทุนกับสินทรัพย์ระยะสั้น เพื่อให้เกิดรายได้และกำไรกลับคืนมาภายในกรอบเวลาที่จำกัด ให้ทันกับ ภาระผูกพันดอกเบี้ยจากแหล่งเงินทุนที่ได้มาในลักษณะของเงินกู้
4. แหล่งเงินทุนระยะยาวต้องใช้กับการลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาว เพราะจะเกิดความสมดุล ทั้งในเรื่องของภาระผูกพันและกรอบเวลาของการชำระคืนได้
5. แหล่งเงินทุนระยะยาว ถ้าได้มาแล้วนำไปใช้กับการลงทุนระยะสั้นที่ให้ผลตอบแทนรวดเร็วตลอดช่วงเวลาที่สั้นกว่า ถือว่าเป็นการนำแหล่งเงินทุนนี้ไปใช้อย่างถูกวิธี เพราะสามารถทำให้เกิดผลงอกเงยในระยะสั้นได้ ในขณะที่มีภาระที่ จะต้องคืนเงินกู้ในระยะยาว ซึ่งเป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจให้หมุนเวียนได้อย่างคล่องตัวขึ้น
แหล่งที่มาของเงินทุนและการใช้ไปถ้าไม่ถูกต้องจะสร้างปัญหาตามมาอย่างมหาศาลต้องพิจารณาให้ดี