fbpx
09ธ.ค.

งาน Software Engineer คืออะไร? เจาะลึกหน้าที่และคุณสมบัติในยุคดิจิทัล

Software Engineer โดยทั่วไปแล้ว มักจะเข้าใจว่าเป็นเรื่องของการทำงานที่เกี่ยวกับการเขียนโค้ดหรือเขียนโปรแกรมขึ้นมาเป็นหลัก หรือหมายถึง การพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อนำมาใช้งานใน Application ต่างๆ ซึ่งงานส่วนนี้จะมีทั้งแบบที่เป็นทางด้าน Front End และก็ Back End ซึ่งอาจจะเป็นงานที่แบ่งเป็นกลุ่มๆง่ายๆ ดังต่อไปนี้

1. งานด้าน Web and Front Developer

เป็นงานลักษณะที่เกี่ยวข้องกับ การออกแบบ UX/UI Design เพื่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับซอฟต์แวร์ ซึ่งในส่วนนี้ จะเกี่ยวข้องกับเรื่องของการวาง Layout ของ Website เพื่อให้เกิดความสามารถหรือประสิทธิภาพสูงสุดในการส่งผ่านข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

2. งานด้าน Collecting Storing and Organizing Data 

เป็นงานที่เกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลต่างๆ จัดวางแนวทางการเก็บข้อมูล เพื่อนำมาเป็นประโยชน์ในการออกแบบเว็บไซต์ ขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการรวบรวมความต้องการของลูกค้าในการใช้ซอฟต์แวร์ว่า มีพฤติกรรมการใช้งานอย่างไร จะบริหารจัดการฐานข้อมูลที่มีอยู่ ให้ส่งผ่านรวบรวมและจัดการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้อย่างไร หลังจากที่มีการเข้ามาใช้งานทางด้าน Front End แล้ว

3. งานด้านการสนับสนุนให้เข้าถึงข้อมูลได้

ส่วนนี้ Software Engineer จะพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาให้เกิดความง่ายที่สุดในการเข้าถึงข้อมูลจากผู้ใช้ที่อยู่ด้านหน้า เช่น การโหลดข้อมูล การเปลี่ยนหน้าในการใช้งาน หรือการเข้าถึงเมนูต่างๆจากฝั่งผู้ใช้ ซึ่งงานส่วนนี้ จะเป็นงานที่จะต้องวางแผน การออกแบบให้เข้าสู่หลังบ้านได้ง่ายที่สุด ในระยะเวลาอันสั้นที่สุด เพื่อให้การใช้งานมีความราบรื่นและประหยัดเวลาสำหรับลูกค้าในการเข้าถึงส่วนต่างๆของข้อมูลหรือเมนูการใช้งานต่างๆ

4. การเขียนโค้ดสำหรับเชิงธุรกิจ

ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับด้านการใช้ภาษาต่างๆที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อมาเขียนโค้ดของโปรแกรมทั้งหมดให้สามารถนำไปสู่การใช้งานได้จริง ซึ่งการเขียนโค้ดนี้ ส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นที่เข้าใจกันว่า เป็นงานหลักของ Software Engineer แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ ไม่ใช่เพียงแค่การเขียนโค้ดอย่างเดียวเท่านั้น ที่จะทำให้โครงการซอฟต์แวร์ ประสบความสำเร็จได้ เพราะกว่าจะเขียนโค้ดได้ ต้องมีข้อมูลหลายอย่างที่จะต้องวางแผนให้เรียบร้อย การเขียนโค้ดเป็นเพียงขั้นตอนที่จะทำทุกสิ่งทุกอย่างให้เสร็จสมบูรณ์ภายใต้แผนงานหรือโครงสร้างที่วางไว้แล้ว

5. ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบการใช้งาน

Unit Test และการใช้งานจริง End to End Test เป็นส่วนที่ Software Engineer จะต้องทำการทดสอบซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาทีละส่วนว่า แต่ละส่วนทำงานอย่างถูกต้องในแต่ละส่วน เพื่อให้ภาพรวมทั้งหมดถูกต้องทั้งระบบในทุกๆส่วน เมื่อนำมารวมกันเป็นภาพใหญ่ตอนที่นำไปสู่การทดสอบการใช้งานจริงจากต้นทางจนถึงปลายทาง ผ่านส่วนต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันเป็นระบบอย่างสมบูรณ์แบบและสามารถใช้งานจริงได้

6. ส่วนที่เกี่ยวข้องกับปลายทางที่เป็นลูกค้า

ซึ่งเป็นผู้ทดสอบระบบจากการใช้งานจริง Software Engineer มีหน้าที่จะต้องทำให้การใช้ซอฟต์แวร์นั้น มีความราบรื่น ไม่สะดุด เพราะการใช้งานของลูกค้า คือเป้าหมายหลักของการพัฒนาซอฟต์แวร์ทั้งระบบ หากการใช้งานไม่ราบรื่น ใช้งานยาก หรือสะดุดด้วยเหตุผลใดก็ตาม จะทำให้ลูกค้าไม่อยากใช้ซอฟต์แวร์ตัวนั้น นำไปสู่ปัญหาในการที่จะขายซอฟต์แวร์หรือโน้มน้าวให้ลูกค้ามาใช้ซอฟต์แวร์เพื่อสร้างรายได้กับองค์กรต่อไป จะเห็นได้ว่า กว่าจะมาเป็นซอฟต์แวร์ ที่มีหน้าเมนูต่างๆ ให้สามารถเข้าไปใช้งาน เข้าออกได้อย่างสะดวกสบายราบรื่นนั้น เป็นหน้าที่ของ Software Engineer ที่อยู่เบื้องหลัง ที่ต้องทำทั้งหมดให้สมบูรณ์แบบก่อนปล่อยออกมาให้ใช้งานจริง

7. ส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

ที่มีความอ่อนไหว หรือที่เราเรียกว่า Sensitive Data Software Engineer จะต้องทำหน้าที่ สร้างระบบป้องกันข้อมูลต่างๆ ให้เกิดความปลอดภัย หรือที่เรียกว่า Encrypting Sensitive Data ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญมากๆส่วนหนึ่ง เนื่องจากซอฟต์แวร์ Engineer ต้องให้ความมั่นใจได้ว่า โปรแกรมที่ทำขึ้นมาใช้นั้น มีความปลอดภัย ไม่สามารถถูกแฮก หรือเข้าถึงฐานข้อมูลได้อย่างง่ายดายโดยมิจฉาชีพ แล้วสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปหาประโยชน์ในทางไม่ชอบได้ เรื่องระบบความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อนนั้น จึงเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งมากๆ ในหน้าที่ของ Software Engineer

8. Mobile Application Developer

ในส่วนนี้จะเป็นการพัฒนาในส่วนที่ใช้งานอยู่บนหน้ามือถือ ไม่ว่าจะเป็นระบบ iOS หรือ Android เพื่อให้การใช้งานในมือถือมีความราบรื่นและใช้งานได้ล่ายเหมือนกัน แม้จะเดินอยู่ภายใต้ระบบพื้นฐานที่ต่างกัน จึงเป็นหน้าที่เขาSoftware Engineer ที่จะต้องทำสิ่งนี้ ให้ใช้งานได้อย่างราบรื่น แม้จะมีพื้นฐานรองรับที่แตกต่างกัน รวมไปถึง การสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่เรียกว่า Infrastructure and Developer Operation เพื่อวางพื้นฐานต่างๆ ที่จะเป็นพื้นฐานหลัก ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาให้อยู่ในฐานปฏิบัติการที่ร่วมกันได้แม้จะต่างพื้นฐานกัน เพื่ออนุญาตให้ผู้ใช้งานได้เข้าถึง Application ได้อย่างง่ายดาย เพราะความเป็นจริงแล้ว ระบบมือถือ ก็จะมีระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน แต่ไม่ว่าจะอยู่บนปฏิบัติการใดก็ตาม มือถือยี่ห้อใดก็ตาม จะต้องสามารถใช้งานแอปพลิเคชั่นได้ โดยราบรื่น มีความรวดเร็ว ใกล้เคียงกัน

👉ผู้ที่จะสามารถประสบความสำเร็จในอาชีพของ Software Engineer ได้นั้น ควรจะคุณสมบัติอย่างไรบ้าง เพื่อให้สามารถทำงานนี้ได้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี ไม่ใช่เพียงแค่การเขียนโค้ดเป็นอย่างเดียวเท่านั้น

1. ต้องความเข้าใจในสโคปงาน

ต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจใน สโคปของงาน และปัญหาทั้งหมดอย่างแท้จริง อย่างละเอียด ก่อนที่จะเริ่มทำการเขียนโค้ด

2. อัพเดตข้อมูลตลอดเวลา

ต้องรวบรวมเอกสารให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อให้มีข้อมูลมากพอและข้อมูลที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

3. เขียนโค้ดให้เข้าใจง่าย

ในเรื่องของการเขียนโค้ดนั้น ต้องเขียนโค้ด ที่มีความน่าเชื่อถือและสามารถซ่อมบำรุงและแก้ไขได้ง่าย Reliable code and Maintainable code

4. ต้องเข้ากับผู้อื่นได้ดี

ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการทำงานร่วมกับแผนกอื่นได้เป็นอย่างดี เพราะในการทำงานซอฟต์แวร์นั้น เราไม่ได้ทำงานคนเดียวแน่นอน ทุกคนจะต้องมีการทำงานในหน่วยของตน ในส่วนที่ตนรับผิดชอบ แล้วก็นำแต่ละส่วนของแต่ละคนมาเชื่อมต่อกันให้เข้ากันได้ ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ดังนั้น จึงต้องเป็นคนที่มีความสามารถในการประสานงาน หรือทำงานร่วมกับแผนกอื่นๆ ที่แตกต่างกัน หรือทำงานร่วมกับคนอื่นที่มีบุคลิกลักษณะนิสัยที่แตกต่างกันได้อย่างราบรื่น จึงจะทำให้งานในภาพรวมประสบความสำเร็จได้

5. มีทักษะการสื่อสาร

ต้องเป็นคนที่มีความสามารถในการสื่อสารเป็นอย่างดี ด้วยเหตุที่ การทำงาน Software Engineer นั้น จะต้องเกี่ยวข้องกับแผนกอื่นๆทั้งที่เป็น Engineer ซึ่งเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค และคนที่ไม่ใช่ Engineer ซึ่งจะมีความรับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวกับทางด้านพาณิชย์หรือ Commercial ดังนั้น ความสามารถในการสื่อสาร จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อจะได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ ความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเทคนิค หรือทางพาณิชย์ หรือพฤติกรรมผู้บริโภค ที่ได้รับมาจากแต่ละส่วนที่แตกต่างกันนั้น มารวมเป็นภาพรวม ให้เขียนโปรแกรมได้อย่างถูกต้อง

6. ต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้

ต้องเป็นคนที่ยอมรับในเรื่องของการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ ปัญหาหนึ่ง ก็คือ ความสามารถในการเขียนโค้ดของแต่ละคน ไม่เหมือนกัน แม้จะเป็นโจทย์เดียวกัน จึงมีโอกาสที่ การเขียนโค้ดของเรา อาจจะถูกพิจารณาว่ายังไม่ดีพอ หรือไม่รัดกุมเท่าที่ควร อาจจะต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไข เพื่อให้ทุกอย่างมันดีขึ้น และเป็นที่มาของคุณลักษณะสำคัญ ที่จะต้องมีของ Software Engineer คือ ต้องไม่ยึดติดกับตัวตน และพร้อมที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หลังจากที่ได้รับการแนะนำ หรือการวิจารณ์จากคนอื่น ที่ทำงานร่วมกันเป็นทีม

7. ต้องมี Mindset ที่ดี

หมายถึงมี Mindset ที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับการเติบโต ไม่ว่าในแง่ของการทำงานที่หนักขึ้น มากขึ้น หรือความรับผิดชอบที่สูงขึ้นเมื่อได้รับมอบหมาย ซึ่งมีความเป็นไปได้สูง เมื่อเราทำงานไปถึงจุดหนึ่ง จะได้รับโอกาสให้ดูแลโครงการที่ใหญ่ขึ้น หรืออาจจะต้องดูแลส่วนต่างๆ หลายๆ ส่วนพร้อมๆ กัน แทนที่ จะเป็นส่วนเดียวที่เราเคยดูแลในช่วงแรกๆ ดังนั้น Software Engineer ควรจะเป็นคนที่มี Growth Mind Set เพราะการเป็น Software Engineer ที่ประสบความสำเร็จได้ ไม่ใช่แค่เพียงการเขียน Code ได้เท่านั้น แต่ต้องสามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างราบรื่น และประสานงาน ได้ทุกระดับ