fbpx
31ม.ค.

1.สามารถดูเทรนด์และกระแสความต้องการตลาดในอนาคต

2.การมองหาโอกาสทางธุรกิจ

3.การบริหารจัดการโดยเฉพาะเรื่องคน

4.มีวิธีการจัดการความเสี่ยงในธุรกิจ

1.สามารถดูเทรนด์และกระแสความต้องการตลาดในอนาคต

ธุรกิจ กับ เทรนด์ ความหมายคืออะไร

  • ธุรกิจ คือ การทำสิ่งใดแล้วมีประโยชน์กับผู้อื่นมากๆ จนผู้อื่นต้องการ ก็สามารถทำให้เกิดธุรกิจได้
  • เทรนด์  คือ ช่วงเวลานั้นๆ ที่มีความต้องการสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากๆ จนทำให้เกิดธุรกิจและสามารถทำกำไรระยะสั้นได้

จะเห็นว่าพอลองมาแยกจะเห็นภาพชัดว่าการทำธุรกิจที่ดีไม่ใช่ธุรกิจตามเทรนด์ แต่เป็นธุรกิจที่ต้องปรับตัวให้เหมาะกับช่วงสถานะการณ์นั้นๆ

  • ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดๆ เมื่อปีที่แล้วเกิดสถานการณ์โควิด จะพบว่าธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์ หน้ากาก เจลล้างมือ เรียกว่าขาดตลาด พอปริมาณความต้องการ และลดลงจนปกติ ก็ยังสามารถทำธุรกิจต่อไปได้

การทำธุรกิจไม่จำเป็นต้องอิงตามเทรนด์เสมอไป เพราะการทำตามเทรนด์ไม่ใช่คำตอบการทำธุรกิจ

  • อีกหนึ่งตัวอย่าง ธุรกิจกลุ่มขนส่ง จะพบว่า เมื่อปีก่อน เกิดโควิด ทุกคนอยู่บ้าน หันมาสั่งของออนไลน์ ทำให้ธุรกิจ ขนส่งเติบโตมาก และเกิดการแข่งขันอย่างรุนแรง เมื่อ ความต้องการนั้นหายไป การให้บริการหรือที่เราเรียกว่าอุปทาน ยังเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้น แต่อุปสงค์หายไป ทำให้นำไปสู่การแข่งขันทางราคา เมื่อมาถึงจุดนั้นผู้อ่อนแอก็จะหายไป

การทำธุรกิจตามเทรนด์ ตามกระแสอาจจะไม่ใช่คำตอบ ของคนที่ต้องการทำกำไรระยะยาว ถ้าระยะสั้น 1-2 ปี ถ้ามันคุ้มเราก็ทำ ถ้าไม่คุ้มก็ต้องพิจารณาดีๆ

ดังนั้น การทำธุรกิจตามเทรนด์ก็มีส่วนที่จะทำให้ธุรกิจที่เราทำอยู่แล้ว หรือ เริ่มทำนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจเราถึงเป้าหมายเร็วขึ้น แต่ไม่ใช่ทั้งหมด แต่สิ่งที่เราจะทำให้สำเร็จจริงๆก็คือ ความมุ่งมั่น ความอดทน การพัฒนาธุรกิจของเราไปถึงเป้าหมายได้ และที่สำคัญธุรกิจนั้นสามารถสร้างประโยชน์ให้กับคนอื่นได้

2.การมองหาโอกาสทางธุรกิจ

            สำหรับคนที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจมักมีการตั้งคำถามว่า อยากเริ่มต้นธุรกิจนี้ดีไหม  ธุรกิจแบบนี้ดีไหม ซึ่งมักจะเจอคำถามเหล่านี้ ใครที่ตั้งคำถามเหล่านี้อยู่บอกเลยว่าเป็นการตั้งคำถามที่ผิด เพราะเป็นสิ่งที่ตอบยากมากเลยสำหรับธุรกิจไหนดีหรือไม่ดี สิ่งที่เราควรจะตั้งคำถามคือ ถ้าผมทำธุรกิจนี้ต้องการยอดขายเท่านี้เป็นไปได้ไหม ธุรกิจนี้ตั้งในทำเลนี้ ถ้ามียอดขายเท่านี้เป็นไปได้ไหม นี่แหละคือคำถามหรือโจทย์ที่เราจะมาคุยกันในวันนี้

            2.1. ธุรกิจนั้นต้องสร้างประโยชน์ให้กับคนอื่น บางคนคิดว่าการเริ่มต้นธุรกิจต้องได้เงินเลยจริงๆ แล้วคือไม่ใช่ หลายๆ คนเริ่มต้นจากการทำงานฟรีให้กับผู้อื่นก่อนจากน้อยๆกลายเป็นปริมาณมากนั้นแหละ จนขยายออกมาเป็นธุรกิจได้นั้นเอง ดังนั้นการสร้างประโยชน์ให้กับผู้อื่นถ้าสร้างได้น้อยก็คงไม่เหมาะกับคำว่าธุรกิจเว้นแต่มีมูลค่าสูงก็ยกให้เป็นกรณีพิเศษแต่ถ้าเป็นการสร้างประโยชน์ได้มากและมีมูลค่าสูงผมก็บอกได้คำเดียวว่าทำเลยไม่ต้องรอ

            2.2. มีมูลค่าหรือสร้างยอดขายได้ อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญคือการสร้างยอดขาย หรือผลกำไรที่มาหมุนเวียนในธุรกิจ จะต้องคำนวณอย่างไรถึงจะมีรายได้เพียงพอในการทำธุรกิจ เอาแบบที่ง่ายที่สุด คุณจำเป็นต้องเขียน business model เพื่อกำหนดกลยุทธ์ต่างๆ และข้อมูลที่จำเป็นในการใช้จ่ายเพื่อธุรกิจ ถ้ายากไป เราแค่อยากประเมินแบบธรรมดาก่อน คุณก็ต้องแจกแจงให้ได้ว่าการทำธุรกิจของคุณนั้นมีต้นทุนอะไรบ้าง เช่น ค่าเช่า ค่าวัตถุดิบ  ค่าอื่นๆ ที่สำคัญ คือค่าแรง ทั้งตัวเองและคนทำงาน และอย่างลืมค่าแรงของตนเอง ต้องแยกกับกำไรของธุรกิจ เพราะกำไรของธุรกิจไม่ใช่รายได้ หรือกำไรสุทธิต้องบริหารอย่างระวัง และสุดท้ายคุณจะได้เลขของต้นทุนเพื่อมาประเมินว่าต้องมียอดขายเท่าไหร่ถึงจะอยู่ได้

            2.3. มีรายได้และฐานลูกค้าที่ยั่งยืน จริงๆ แล้วคำว่ายั่งยืน จะนิยามว่า ต้องมีระยะทำกำไรอย่างน้อย 2-3 ปี บางธุรกิจที่ลงทุนไปอย่างน้อยเลย ต้องใช้เวลาคืนทุนอย่างน้อย 1 ปี ถ้าบางธุรกิจโชคดีก็เพียงไม่กี่เดือน แต่เราคงไม่ได้โชคดีเสมอ ดังนั้นเราควรตั้งไว้อย่างน้อย 1 – 5 ปี ถ้าเกินจากนี้คือไม่ดี เพราะสัญญาโดยส่วนใหญ่ที่เราเห็นก็เป็นปีต่อปี แต่ไม่เกิน ห้าปี ซึ่งถ้าธุรกิจระดับร้อยล้าน พันล้านยังได้แค่ 30-50 ปี ในทำเลทอง ดังนั้นเราจำเป็นต้องประมาณการให้ได้ว่าสิ่งที่เราทำยอดเข้าใช้บริการเมื่อไหร่ แล้วเราจะต้องกระตุ้นบริการอย่างไร และจะรักษาความสม่ำเสมอมาตรฐานการบริการอย่างไร

3.การบริหารจัดการโดยเฉพาะเรื่องคน

                        ในการทำธุรกิจปัจจุบันที่จะประสบความสำเร็จได้ หรือการขยายธุรกิจออกไปเร็วๆนั้น บางคนคิดว่าเงินทุนเป็นสิ่งสำคัญ แต่ในความเป็นจริงแล้วก็เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้นยังมีหลายๆ องค์ประกอบไม่ว่าจะเป็น บริการหลังการขาย การบริหารจัดการสต๊อกสินค้า การบริหารเรื่องคน รวมไปถึง การบริหารการทำการตลาดอีกด้วย

            ย้อนกลับไปในวัยเด็ก เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายๆ คนมักจะบอกกับเราว่า อยากให้ลูกเป็นเจ้าคนนายคน หรือตอนวัยเด็กก็เชื่อว่าอาจจะเป็นความฝันของใครหลายๆ คน แต่พอได้ไปสู่ตำแหน่งนั้นกระบวนการนั้น เราจะมีความคิดอีกอย่างว่า บางครั้งการไม่มีลูกน้องเป็นลาภอันประเสริฐนั้นเป็นเรื่องจริง

            การบริหารคนสิ่งที่สำคัญจริงๆ คือการมีระบบหรือมีวิธีจัดการกับเรื่องเหล่านั้นอย่างไร บางครั้งใช้แรงจูงใจต่างๆ เช่นเรื่องเงินพิเศษ เพื่อให้ได้ผลงานที่ดีขึ้นหรือการอบรมทดสอบการทำงาน แต่ก่อนที่จะเริ่มสิ่งเหล่านี้ เราต้องเข้าใจสิ่งนี้ก่อน

            3.1. เข้าใจข้อจำกัดของเพื่อนร่วมงาน เราต้องเรียนรู้ว่าเพื่อนร่วมงานของเรามีความสามารถแค่ไหน และสัมพันธ์กับภารกิจที่เราจะมอบหมายให้ไปทำหรือไม่ หรือคำที่เรามักจะได้ยินคือ เลือกคนให้เหมาะสมกับงาน และที่สำคัญอย่าคาดหวังสูงกับเพื่อนร่วมงาน ว่าเขาจะทำให้เราได้ทุกอย่าง เราต้องมีแผนสำรองหากเพื่อนร่วมงานทำไม่ได้ หรือมีปัญหาเพื่อไม่ให้งานติดขัด เช่น ตำแหน่งบางตำแหน่ง ควรมีสองคนเป็นอย่างน้อยเพื่อทดแทนกันได้

            3.2. สร้างแผนการอบรมพร้อมประเมินผล เคยสังเกตไหม อย่างร้านกาแฟ ทั้งๆที่มีการเข้าออกเยอะมากแต่ทำไมพนักงานทำงานเพียง 2 – 3 สัปดาห์ ก็ชงกาแฟได้แล้ว แล้วรสชาติตามที่ร้านนั้นกำหนดตรงตามมาตรฐาน เพราะว่ามีการทำแบบการเรียนการสอนไว้อย่างเป็นระบบว่าคุณต้องเริ่มให้พนักงานเรียนรู้อย่างไร หรือ ทดสอบก่อนเรียนว่ามีความสามารถเช่นไร

            3.3.การสร้างแรงจูงใจ เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน บางครั้งเราอาจจะคิดว่าการสร้างแรงจูงใจเยอะๆ จะทำให้คนทำงาน หรือ เพื่อนร่วมงานจะจงรักภักดี อยู่กับเรานานๆ ซึ่งจริงๆ แล้วมันก็ไม่ใช่ทั้งหมด แต่การสร้างแรงจูงใจที่ดีต้องมีเป้าหมาย ว่า ถ้าให้แล้วจะมาเสริมสร้างอะไรในการทำงาน หรือ เราเทียบกับโปรโมชั่นในร้าน กาแฟก็ได้ว่า ทำไมกาแฟที่เรากินประจำไม่เคยทำโปรเลย ทำแต่โปรกาแฟ หรือน้ำรายการใหม่ๆ  ซึ่งเราก็รู้ดีกว่ามันคือการกระตุ้นยอดขายของสินค้าตัวนั้น ดังนั้นการสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน คือการพยายามบอกเค้าให้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แทนที่ จะให้แรงจูงใจเพราะเค้าไม่เคยทำผิดพลาด ดีกว่า และพยายามสร้างแรงจูงใจให้เพื่อทำสิ่งใหม่ๆอีกด้วย

4. มีวิธีการจัดการความเสี่ยงในธุรกิจ

สำหรับวิธีการเมื่อธุรกิจมีความเสี่ยง คือ เสียงเตือนว่าเสี่ยงคืออะไร แล้วอะไรคือความเสี่ยง โดยปกติแล้วความเสี่ยงยอดนิยมการทำธุรกิจมีไม่มีกี่อย่าง

4.1. ธุรกิจในปัจจุบันไม่ตอบโจทย์ในอนาคต

4.2. ปัญหาจากบริหารจัดการได้ไม่ดีพอ

4.3. ปัญหาการเงิน รายรับไม่พอรายจ่าย

ดังนั้นแต่ละธุรกิจ แต่ละแบบก็จะมีปัญหาที่แตกต่างออกไป แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรละ ว่าปัญหานี้จะเกิดตอนไหน หรือกว่าจะรู้ก็สายไปเสียแล้ว จริงๆ

วันนี้เราจะลองทำวิธีการบริหารความเสี่ยง การสำรวจตรวจสอบความเสี่ยงก็เหมือนกับการประเมินผลการทำธุรกิจของเรา สัปดาห์ละครั้ง เดือนละครั้ง เอาแบบง่ายๆ สิ้นเดือนมา รายรับพอรายจ่ายไหม ถ้า 3 เดือนผ่านไป จุดที่เราไหว หรือเงินทุนที่เรามีจะไปถึงจุดไหน เช่น เรามีระยะเวลา 6 เดือน คือยอมขาดทุนได้ 6 เดือน ถ้าเดือนที่ 7 ยังไม่มีกำไรก็ไม่สามารถทำธุรกิจเราได้

จะบอกว่าการที่ธุรกิจเราจะทำให้เสี่ยงหรือไม่เสี่ยง มันอยู่ที่เป้าหมายว่าเราสร้างเป้าหมายไว้อย่างไร ถ้าเราสร้างเป้าหมายไว้สูง ความเสี่ยงที่จะไม่สำเร็จก็จะสูงตาม แต่หลักจริงๆ เราควรตั้งเป้าหมายให้สูงไว้ก่อน ถึงจะเป็นเรื่องดีเพราะการทำธุรกิจที่ดี และยั่งยืน ก็เหมือนกับการสอบแข่งขันที่เราต้องเป็นที่หนึ่ง ในเรื่องของธุรกิจนั้น เราถึงจะประสบความสำเร็จได้

แต่เมื่อธุรกิจของเรามีความเสี่ยงหรือเลยคำว่าเสี่ยง กลายเป็นว่าเจอปัญหาไปแล้ว สิ่งแรกที่เราควรจะทำคือตั้งสติและแยกปัญหา เกิดจากเรื่องอะไรแล้วค่อยๆ แก้และรับมือกับความเสี่ยง  ไม่มีธุรกิจไหนที่ไม่มีความเสี่ยง และไม่มีธุรกิจไหนที่ไม่มีอุปสรรค ในการทำธุรกิจ