อนาคตของงานในยุค AI : สายงานไหนยังต้องการมนุษย์?
อาชีพ ที่ AI ทำแทนไม่ได้ ถ้าจะพูดถึงประเด็นนี้ ก็ค่อนข้างที่จะเป็นประเด็นที่ซับซ้อนหรือคาดการณ์ได้ยาก เพราะ AI มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา หลายสิ่งที่ AI ทำไม่ได้ในอดีต ปัจจุบันก็ทำได้แล้ว และหลายสิ่งที่ทำไม่ได้ในปัจจุบัน ในอนาคตอาจจะทำได้ ย่อมเป็นไปได้ ดังนั้นเราจะมาคุยประเด็นนี้ในเรื่องของสถานการณ์ปัจจุบันว่าอะไรบ้างที่คิดว่า AI น่าจะยังทำแทนมนุษย์ไม่ได้ในปัจจุบันนี้ในสถานการณ์วันนี้
1. สิ่งที่เกี่ยวกับจินตนาการ
คือ สิ่งอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคนมาใช้ในการทำงานในส่วนนั้น น่าจะเป็นสิ่งที่ AI น่าจะทำแทนได้ยากในปัจจุบัน เนื่องจาก AI มักจะเป็นอะไรที่เกี่ยวข้องกับ สิ่งที่เป็นวิทยาศาสตร์ หรือ เป็นตรรกะที่เกิดจากการป้อนข้อมูลเข้าไปของมนุษย์ หรือป้อนวิธีคิดเข้าไป ให้กับ AI ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ก็ขึ้นอยู่กับว่า คนที่ป้อนเข้าไปนั้น ป้อนแนวคิดป้อนตรรกะ ลักษณะไหนเข้าไป หรือแม้อาจจะใช้วิธีการป้อนตรรกะต่างๆ จากคนหลากหลายคนเพื่อให้เกิดความหลากหลายและครอบคลุมในแนวคิดที่จะให้ AI ได้ทำหน้าที่ตรงนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า แนวคิดหรือตรรกะนั้น ๆ ที่ป้อนเข้าไปมากๆแล้ว จะทำให้ AI สามารถสรุปรวบรวมออกมาเป็น ความคิดที่ตกผลึกและนำมาใช้ในการทำงานเกี่ยวกับด้านจินตนาการได้ เพราะจินตนาการเป็นเรื่องที่เหนือจากตรรกะ หรือหลักการที่เป็นสูตรตายตัวทางด้านวิทยาศาสตร์ จินตนาการเกิดจากความสามารถเฉพาะตัวของคน จากประสบการณ์เฉพาะตัวของคน และจากความเชื่อหรือความศรัทธาของแต่ละคนที่แตกต่างกัน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ AI จะทำหน้าที่เหล่านี้ได้ดี
2. สิ่งที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา
ส่วนนี้ก็ยังน่าจะเป็นเรื่องที่ยากมากที่ AI จะทำได้ เพราะจิตวิทยานั้น ไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักการหรือตรรกะที่ตรงไปตรงมาตามหลักวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับประสบการณ์ส่วนตัวของคนที่จะทำหน้าที่ในการวิเคราะห์จิตวิทยาของคนอื่น ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในการผ่านการวิเคราะห์สถานการณ์ ประสบการณ์ในการสัมผัสกับกรณีศึกษาต่างๆ รวมไปถึงความรู้ ความสามารถเฉพาะตัว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ AI น่าจะยังทำไม่ได้ในปัจจุบัน ในการจะใช้ AI ให้ทำงานที่เกี่ยวกับเชิงจิตวิทยาแทนคนในระยะเวลาการใกล้นี้ เพราะการอ่านคนนั้น เป็นเรื่องของประสบการณ์ เป็นเรื่องของความสามารถพิเศษของคนจริงๆ ที่จะอ่านคนอื่นได้ลึกซึ้งเพียงใด หรือเข้าใจจิตวิทยาของคนอื่นได้เพียงใด ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ตำราที่เรียนกันมา แล้วก็วิเคราะห์กันอย่างตรงไปตรงมา เพราะหลายครั้ง สิ่งที่เรียนมานั้น อาจจะวิเคราะห์ได้ไม่ถูกต้อง ถ้าหากขาดประสบการณ์ หรือขาดจินตนาการ หรือขาดความละเอียดอ่อนในการจับความรู้สึก หรือสัมผัสต่างๆ ที่อยู่ระหว่างการวิเคราะห์จิตวิทยาของคนคนใดคนหนึ่งเพื่อหาข้อสรุปอย่างใดอย่างหนึ่ง
3. สิ่งที่เกี่ยวกับเรื่องของสัญชาตญาณ
สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก หากมีเรื่องใดๆ ก็ตามในการตัดสินใจ แล้วเราต้องใช้หลักการในการตัดสินใจ สิ่งนี้ AI อาจจะทำได้ ขึ้นอยู่กับว่า ข้อมูลที่ AI มีอยู่นั้นได้รับอะไรที่ป้อนเข้าไป แต่ไม่ได้หมายความว่า AI จะเป็นคนที่สามารถตัดสินสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง เพราะ AI จะตัดสินใจทุกอย่าง จากข้อมูลที่มี จากตรรกะที่ได้รับ จากหลักการที่ถูกบรรจุเข้าไปให้ AI เพื่อนำมาประมวลผล เพื่อใช้ในการตัดสินใจ แต่ทุกสิ่งทุกอย่างนั้น จะเป็นลักษณะของการไร้ชีวิตจิตใจ เป็นการตัดสินใจจากข้อมูลแบบตรงไปตรงมา โดยไร้จิตวิญญาณ เราลองมาพิจารณาดูว่าหากใช้ AI ในการช่วยในการตัดสินใจแล้ว เรายังไม่มั่นใจในการตัดสินใจนั้น สิ่งเดียวที่เราจะทำได้ ก็คือ การใช้สัญชาตญาณของตนเองในการตัดสินใจเรื่องสำคัญ ๆ สำหรับชีวิต ที่จะส่งผลกระทบกับตัวเราโดยตรง เหตุผล เพราะว่าสัญชาตญาณจะไม่ทรยศเจ้าของสัญชาตญาณจะไม่ตัดสินใจอะไรก็ตาม ที่ทำให้เจ้าของต้องเดือดร้อน ซึ่งต่างจาก AI ที่จะไม่มีความรู้สึก หรือความสนใจเรื่องพวกนี้ AI จะตัดสินใจทุกสิ่งทุกอย่างไปตามข้อมูล หลักการตรรกะและสิ่งต่างๆ ที่ถูกป้อนเข้าไป เพื่อใช้ในการประมวลผลในการตัดสินใจ แต่จะไม่มีจิตวิญญาณหรือความรู้สึกที่เชื่อมโยงถึงความกลัว หรือความกังวลที่จะตามมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีอยู่ในสัญชาตญาณเท่านั้น
4. สิ่งที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก
เช่น เรื่องของความรัก AI ไม่สามารถที่ตัดสินใจ เรื่องเรื่องความรักได้ เพราะมันเป็นเรื่องความรู้สึก สมมุติเราให้ AI พิจารณาว่า เราควรจะตัดสินใจ แต่งงานกับผู้หญิงคนใดคนหนึ่งใน 4 คน ตามข้อมูลที่เรามีให้กับ AI รับรองได้เลยว่า AI อาจจะตัดสินใจผิดพลาดได้แน่นอน เพราะสิ่งที่ AI จะนำไปวิเคราะห์ ก็จะเป็นเพียงแค่ ข้อดี ข้อเสียของผู้หญิงคนนั้น หรือผลประโยชน์ทางด้านธุรกิจ หรือผลดีที่จะได้จากแต่งงานกับผู้หญิงแต่ละคนว่า มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ในรูปของความคุ้มค่าหรือไม่คุ้มค่า ในแง่ของข้อมูล ที่ได้รับป้อนเข้าไป และตัดสินใจในเชิงคณิตศาสตร์ แต่ AI ไม่สามารถที่จะนำการตัดสินใจ โดยใช้เรื่องของความรู้สึกเป็นตัวนำในการตัดสินใจว่า ทำไมถึงจะตัดสินใจแต่งงานกับผู้หญิงคนนี้ เพราะในการตัดสินใจแต่งงานกับผู้หญิงคนหนึ่ง หรือจะรักคนใดคนหนึ่งนั้น มันเป็นเรื่องของความรู้สึก ซึ่งมันอยู่เหนือเหตุผล หรือคณิตศาสตร์ หรือตระการใดๆ ก็ตาม มันเป็นเรื่องของจิตใจล้วนๆ ซึ่งส่วนนี้ไม่มีวันที่ AI จะทำงานแทนได้ เพราะถ้าให้ AI ตัดสินใจ AI อาจจะตัดสินใจเลือกผู้หญิงที่ ในภาพรวมแล้วผลประโยชน์โดยรวมดีที่สุดสำหรับเรา แต่ขณะเดียวกัน มนุษย์อาจจะตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ โดยภาพรวมแล้วอาจจะมีผลประโยชน์หรือผลดีน้อยที่สุด แต่การตัดสินใจนั้น มาจากเหตุผลเดียว คือ เรื่องของความรักและความรู้สึก ซึ่งไม่มีวันที่ AI จะเข้าใจเรื่องพวกนี้ได้
5. สิ่งที่เกี่ยวกับการคาดเดา
ในสถานการณ์บางอย่างในอนาคตว่า ควรจะเกิดขึ้นอย่างไรกันแน่ สิ่งนี้ในบางสถานการณ์ AI ก็ไม่สามารถจะทำงานแทนได้ เนื่องจากการคาดเดาสถานการณ์ต่างๆ ในอนาคต จะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในอดีต ข้อมูลในอดีต ความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ ในสถานการณ์ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหา ความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ หรือองค์ประกอบต่างๆ ที่รายล้อมไปทั้งหมดเพื่อให้ตกผลึกเป็นภาพรวมในการคาดการณ์สถานการณ์ในอนาคตได้ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนั้น จะมาจากเรื่องประสบการณ์ชีวิตล้วนๆ จึงมีทั้งเรื่องของคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์รวมกันอยู่อย่างลงตัว และสมดุลจนกลายเป็นการตกผลึกของความรู้ ความมั่นใจในการที่จะคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตได้ เพราะทุกอย่างที่จะเกิดขึ้น มันจะไม่เป็นไปตามคณิตศาสตร์ที่ตรงไปตรงมา หรือตรรกะที่ถูกบันทึกเข้าไปเท่านั้น สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และทุกอย่างจะถูกปรับเปลี่ยนไปตามประสบการณ์ หรือมุมมองที่คนๆนั้นมีอยู่ ดังนั้นการตัดสินใจคาดการณ์เกี่ยวกับอนาคต จึงยังน่าจะเป็นสิ่งที่ AI อาจจะยังทำไม่ได้แทนคนในระยะสั้นนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนที่ต้องใช้ประสบการณ์ส่วนตัวในการตัดสินใจในเรื่องที่จะต้องคาดการณ์อนาคตต่างๆ
6. สิ่งที่เกี่ยวข้องกับความชอบหรือไม่ชอบส่วนตัว
เช่น การตัดสินใจว่าอาหารจานใดอร่อยกว่าอาหารจานใด ซึ่งสิ่งนี้ AI ไม่มีวันที่จะทำแทนมนุษย์ได้ เพราะในการชิมอาหาร และตัดสินใจว่าอาหารนั้นอร่อยในมาตรฐานดีพอ หรือควรได้รับรางวัลชนะเลิศหรือไม่อย่างไรนั้น AI ไม่สามารถจะรับรู้รสชาติเหล่านี้ได้ และตัดสินใจได้ว่า อาหารจานนั้น อร่อยหรือไม่อย่างไร เพราะมันเป็นเรื่องของความรู้สึก ความชอบ ความสามารถในการรับรู้รสชาติ และประสบการณ์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับการได้ชิม หรือที่ทำอาหารเหล่านั้นจึงเป็นเรื่องยาก ที่ AI จะตัดสินใจได้ว่า จานไหนดีกว่าจานไหน