fbpx
11พ.ย.

ทำความรู้จักตำแหน่งงานไอที งานสายนี้เหมาะกับคุณมั้ย?

งานทางด้านไอที สำหรับงานทางด้านไอทีนั้นจะแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆอยู่ประมาณ 3 กลุ่มก็คือ

1. กลุ่มงานทางด้านฮาร์ดแวร์

2. กลุ่มงานทางด้านซอฟต์แวร์

3. กลุ่มงานทางด้านทั่วไปที่ไม่เกี่ยวกับฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์

1. กลุ่มงานที่เกี่ยวกับด้านฮาร์ดแวร์

จะเป็นงานที่เกี่ยวกับเรื่องของการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ด้านคอมพิวเตอร์ ระบบสาย ระบบแสงสีเสียง หรืออะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เป็นฮาร์ดแวร์ ซึ่งงานกลุ่มนี้ ต้องการคนที่เรียนมาทางด้านวิศวกรคอมพิวเตอร์โดยตรง เพราะต้องมีการออกแบบเรื่องของระบบ Server ต่างๆ ที่ต้องใช้ในการดำเนินกิจการทางด้านไอที ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการคำนวณทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น

  • ขนาดของ Server การเก็บฐานข้อมูล
  • การเดินระบบสายต่างๆไปทางจุดต่างๆที่ต้องการใช้งาน
  • ความเร็วของการส่งผ่านข้อมูล ความปลอดภัยในการดูแลฐานข้อมูล
  • ความปลอดภัยในเรื่องของการดูแลระบบการส่งข้อมูลต่างๆผ่านสายต่างๆ
  • การคำนวณศักยภาพหรือประสิทธิภาพในการใช้งานตามจุดต่างๆ

รวมไปถึงการเตรียมรองรับการเติบโตของการใช้งานในอนาคต เพื่อให้การใช้งานมีความเสถียร มีความมั่นคงต่อเนื่อง

ซึ่งทั้งหมดนี้ ต้องใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์อย่างชัดเจน และต้องการความแม่นยำในการคำนวณอย่างถูกต้องรวมไปถึงการคาดการณ์ในการเติบโตในอนาคต เพื่อรองรับการเติบโตและเตรียมพร้อมสำหรับงบประมาณในการลงทุนและอุปกรณ์ต่างๆที่ต้องใช้ในการลงทุน ที่จะเป็นงานของส่วนที่เรียกว่าเป็นงานด้านฮาร์ดแวร์โดยตรง

2. กลุ่มงานที่เกี่ยวข้องกับการด้านซอฟต์แวร์

กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่เกี่ยวกับเรื่องของการพัฒนาตัวซอฟต์แวร์ ต้องเป็นคนที่เรียนมาทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือ คนที่เรียนเขียนโปรแกรมมาโดยตรง เพราะเป็นส่วนที่จะต้องพัฒนาโมดูล สร้างโปรแกรมต่างๆขึ้นมา เพื่อรองรับการใช้งาน ซึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่จะต้องเขียนโปรแกรมขึ้นมาตามความต้องการของผู้ใช้งาน หรือของผู้ว่าจ้าง

รวมไปถึงต้องออกแบบระบบฐานข้อมูลด้วยว่าจะต้องใช้ฐานข้อมูลแบบใด ที่จะเหมาะสมกับข้อมูลที่จะเก็บไว้ในอนาคต และนำไปใช้งาน

ต้องมีความรู้เกี่ยวกับ การออกแบบข้อมูลแล้วไปเก็บไว้ในฐานข้อมูลลักษณะแบบไหนที่จะเหมาะสมกับการใช้งานไม่ทำให้เกิดความยุ่งยาก หรือความเชื่องช้าในการใช้งาน ต้องใช้ระบบฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานที่ถูกต้องและเหมาะสม เพราะข้อมูลมีทั้งแบบที่ เป็นภาพและตัวอักษร ซึ่งการเก็บข้อมูลทั้ง 2 แบบนี้ จะไม่เหมือนกัน การนำไปใช้ก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้น การเลือกฐานข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่ต้องมีความรู้อย่างจริงจังในทางด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์

ยังไม่รวมไปถึงความสามารถในการออกแบบให้ใช้งานได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของหน้าจอ หรือการเข้ามาใช้งานจริงที่ง่าย สะดวก การเข้าออกของหน้าต่างเมนูต่างๆ ในการใช้งาน ต้องสะดวก เข้าออกง่าย รวดเร็ว ซึ่งส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับการออกแบบที่เรียกว่า User Interface ต้องเป็นคนที่มีความรู้ในเรื่องของการเขียนโปรแกรมได้อย่างถูกต้อง

รวมไปถึงต้องเป็นคนที่มีความสามารถในการเลือกภาษา ที่จะนำมาใช้เป็นพื้นฐานในการเขียนโปรแกรม เพราะภาษาแต่ละภาษานั้น มีข้อดีข้อเด่น ไม่เหมือนกัน และนำมาใช้ในการเขียนโปรแกรมที่แตกต่างกัน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น หากพัฒนาโปรแกรมโดยใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้องหรือไม่รองรับในสิ่งที่ต้องเป็นไปในอนาคต จะทำให้เกิดการสูญเสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโปรแกรมและสุดท้ายก็ใช้ได้ไม่ดีเท่าที่ควร

3. กลุ่มงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านไอที

แต่ไม่ใช่เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับทางด้านฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์โดยตรงซึ่งส่วนนี้ มักจะเป็นส่วนทางด้านเชิงพาณิชย์มากกว่า หมายถึง กลุ่มงานที่จะต้องออกไปติดต่อประสานงานกับลูกค้าที่จะสั่งให้มีการพัฒนาโปรแกรมขึ้นมา หรือออกไปติดต่อกับผู้ใช้เพื่อจะเรียนรู้ว่า ผู้ใช้เหล่านั้นมีความต้องการในการใช้งานอย่างไร ซึ่งส่วนนี้มักจะเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับทางด้าน Project Manager คือผู้บริหารโครงการที่จะพัฒนาซอฟต์แวร์นี้ขึ้นมา ต้องไปพบ พูดคุยกับลูกค้าเพื่อสอบถามความต้องการที่ถูกต้อง เพื่อให้รู้ว่าผู้ใช้ต้องการใช้ซอฟต์แวร์ในลักษณะไหน ใช้ทำอะไร และลักษณะการใช้งานเป็นอย่างไร ต้องการเมนูหน้าต่างอย่างไร เพื่อให้การใช้งานเป็นไปได้อย่างง่ายดาย

ลักษณะงานของไอที จาก 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ที่แจ้งมาแล้วนั้นจะมีตำแหน่งอะไรบ้างที่เป็นพื้นฐานสำคัญของลักษณะงานไอทีต่างๆ มีดังต่อไปนี้

1.ตำแหน่งวิศวกรคอมพิวเตอร์

ที่เกี่ยวกับการออกแบบระบบฮาร์ดแวร์และการติดตั้งระบบฮาร์ดแวร์ทั้งหมด ตั้งแต่การทำงบประมาณในการเลือก Server ที่จะจัดเก็บข้อมูล การกำหนดมาตรฐานต่างๆ ในการเดินระบบ และการบริหารจัดการ การเดินระบบให้มีความเรียบร้อยเพียงพอ รวมไปถึงการจัดการระบบความปลอดภัยของฐานข้อมูลในการ Backup และรักษาฐานข้อมูลให้อยู่ในที่ปลอดภัยตลอดเวลา ซึ่งทั้งหมดนี้ จะเป็นเรื่องของทางด้านฮาร์ดแวร์เป็นหลักและเกี่ยวกับงบประมาณโดยตรง

2. วิศวกรซอฟต์แวร์

หมายถึง คนที่ทำหน้าที่ในการเขียนโปรแกรมต่างๆขึ้นมา เพื่อให้นำไปใช้งานได้จริง ซึ่งจะเป็นคนที่ต้องมีความรู้ในการเลือกภาษา ที่ต้องใช้การเขียนโปรแกรมให้ถูกต้อง เป็นคนที่ต้องมีความเข้าใจในความต้องการของลูกค้า เป็นคนที่ต้องออกแบบการใช้งานบนหน้าจอ ที่เป็นลักษณะเป็นมิตรกับลูกค้า ใช้งานง่าย ใช้งานสะดวก ไม่ซับซ้อนและรวดเร็วในการใช้งานจริง

3. Project Manager 

ทำหน้าที่ควบคุมโครงการทั้งหมดในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย และความต้องการใช้งานจริงของลูกค้า เป็นคนที่ต้องควบคุมงบประมาณ ควบคุมตารางเวลาในการทำงาน ควบคุมแนวทางในการออกแบบซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่ต้องใช้ ให้อยู่ภายใต้งบประมาณที่กำหนดไว้ แต่มีประสิทธิภาพสูงสุดรองรับการใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและถูกต้องแม่นยำ เป็นคนที่ต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ระดับหนึ่ง เพราะจะต้องพูดคุยกับวิศวกรทางด้านฮาร์ดแวร์และวิศวกรทางด้านซอฟต์แวร์ไปพร้อมๆกัน และถ่ายทอดความต้องการของลูกค้าอย่างถูกต้องให้วิศวกรซอฟต์แวร์เข้าใจ เพื่อเขียนโปรแกรมอย่างถูกต้อง และวิศวกรฮาร์ดแวร์เข้าใจ เพื่อวางงบประมาณในการลงทุนเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ต่างๆ รวมถึงการคาดการณ์ในการขยายตัวของความต้องการใช้งานในอนาคตได้ เพื่อเตรียมงบประมาณและเตรียมฮาร์ดแวร์สำหรับรองรับการเติบโตในอนาคต เพื่อไม่ให้เกิดการสะดุด หรือ ล้มเหลวของระบบ เมื่อการใช้งานโตขึ้น แต่ไม่ได้คาดหวังหรือไม่ได้รองรับการใช้งานไว้ตั้งแต่ต้น

4. กลุ่มงานที่เกี่ยวกับเรื่องของการออกแบบกราฟิก

ซึ่งในงานไอทีส่วนนี้ เป็นส่วนที่สำคัญมาก เพราะเป็นส่วนที่เป็นหน้าต่างหรือเป็นส่วนที่จะพูดคุยกับผู้ใช้งานโดยตรง ดังนั้นการออกแบบกราฟิกหรือการใช้งานผ่านเมนูต่างๆจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะคนที่ใช้งานในด้านซอฟต์แวร์ต่างๆนั้นเขาไม่มีความรู้ทางด้านซอฟต์แวร์อย่างลึกซึ้งเป็นเพียงผู้ใช้งาน ดังนั้น ความง่ายในการเข้าไปใช้งาน ความง่ายในการทำความเข้าใจในการใช้งาน และความสะดวกสบายในการเข้าออกของโปรแกรมหรือการใช้งานหน้าต่างต่างๆที่ต่อเนื่องกัน ทำให้ผู้ใช้งานมีความสุขในการใช้งาน และสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพ จากใช้งานได้สะดวกสบาย

5. กลุ่มงานที่เกี่ยวกับงานด้านการวิเคราะห์ข้อมูล

ลักษณะงานของงานไอทีในส่วนนี้ จะไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องของฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์แต่จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องของการบริหารฐานข้อมูลที่มีอยู่เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการวางแผนหรือการพัฒนาองค์กร หรือพัฒนาสินค้าต่อไป ซึ่งงานในส่วนนี้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ทางด้านฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์โดยตรง แต่จะต้องมีความรู้ทางด้านการใช้ซอฟต์แวร์ เพื่อจะดึงข้อมูลออกมา และนำไปใช้ประกอบกับความรู้ทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูลหรือเรียกว่า Statistical Analysis ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่เรียนมาทางด้านวิทยาศาสตร์ในสาขาคณิตศาสตร์ หรือเรียนมาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ที่มีความรู้พื้นฐานด้านสถิติเป็นอย่างดี จึงจะทำหน้าที่ตรงนี้ได้

6. ประชาสัมพันธ์

คนที่ทำงานการซอฟต์แวร์ในส่วนของการประชาสัมพันธ์หรือนำเสนอการใช้งานซอฟต์แวร์ให้กับผู้ใช้ได้ทราบว่า มีความยากง่ายในการใช้งานอย่างไร ก็ถือเป็นงานหนึ่งที่เป็นงานที่สัมผัสโดยตรงกับผู้ใช้งาน และเป็นงานที่สำคัญมาก ที่จะนำซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพไปสู่การใช้งานจริง ผ่านการอธิบายเพื่อให้ผู้ซื้อหรือผู้ใช้เกิดความพึงพอใจในซอฟต์แวร์ที่ได้ผลิตออกมา และซื้อไปใช้งานจริง ซึ่งจะเป็นส่วนที่ทำให้เกิดรายได้ที่แท้จริงและเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาซอฟต์แวร์ทั้งหมดทั้งมวลเพราะปลายทางที่แท้จริง คือ การขายซอฟต์แวร์ได้ มีรายได้ เพื่อใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ต่อไป