fbpx
10พ.ค.

เด็กจบใหม่อยากสมัครงานข้ามสาย ต้องเตรียมตัวยังไงให้ได้งาน?

เด็กจบใหม่อยากสมัครงานข้ามสาย เป็นเรื่องที่แปลกไหม?

จริงๆ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกนะ เพราะว่ามีหลายคนตอนที่เลือกเรียนในมหาวิทยาลัยอาจจะยังไม่รู้หรือไม่แน่ใจว่าตัวเองชอบอะไร หรือจบออกมาแล้วอยากทำงานอะไรกันแน่ แต่พอเรียนจบแล้วชอบอย่างอื่นมากกว่า มันก็เป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ทีนี้พอเรียนจบปุ๊บ เรารู้ตัวแล้วว่าเราอยากทำอะไร แต่ที่เรียนมาดันไม่ตรงสาย ส่ง Resume ไปที่ไหนเขาก็ไม่รับ วันนี้ออร์คิดจ๊อบจึงมีเทคนิคในการเตรียมตัวสมัครงาน สำหรับน้องๆ ที่จบใหม่แต่อยากเปลี่ยนสายงาน มาฝากกัน

ก่อนที่เราจะไปสมัครงาน เราต้องทำความเข้าใจให้ดีก่อนว่างานใหม่ที่เราจะไปทำ หรืองานที่เราอยากทำ มีหน้าที่ความรับผิดชอบอะไรบ้าง หรือบริษัทฯ ที่รับสมัครตำแหน่งงานนั้นๆ เขาต้องการคนแบบไหน มีทักษะอะไร หรือต้องการคนที่มี จุดแข็งเรื่องอะไร แล้วกลับมาดูที่ตัวเราเองว่า เรามีสิ่งนั้นแล้วหรือยัง หรือจำเป็นต้อง Upskill / Reskill อะไรบ้างเพื่อให้มีสิ่งที่นายจ้างต้องการ ต้องหาจุดเชื่อมโยงตรงนี้ให้เจอก่อน

แต่สิ่งที่เรียนมา กับงานที่อยากสมัคร มันห่างกันคนละขั้วเลย

หลายคนอาจจะบอกว่า งานที่สมัครและอยากทำมันไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียนมาเลย ออร์คิดจ๊อบอยากให้เริ่มแบบนี้นะ สมมุติว่าเรียนจบวิศวะ แต่ดันชอบงานทางด้าน Marketing มาก อยากทำงานเป็น Digital Marketing ทีนี้จากงานวิศวะ จะ Shift ไปเป็น Digital Marketing เลย ก็ต้องยอมรับก่อนว่าโอกาสที่จะได้งานนั้นน้อยมากๆ ถ้าเทียบกับคนที่จบตรงสายเพราะฉะนั้นต้องค่อยๆ ขยับเอาตัวเองไปใกล้สายงานที่เราอยากจะทำให้มากขึ้น

การขยับเอาตัวเองไปใกล้งานที่ต้องการสมัครมากขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น งานวิศวะก็สามารถแตกออกไปทำงานได้หลากหลายเหมือนกัน เช่น วิศวกรไฟฟ้า วิศวกรออกแบบ วิศวกรที่ปรึกษา วิศวกรฝ่ายขาย หรือวิศวกรโครงการ เราก็อาจจะเลือกไปทำวิศวกรฝ่ายขายก่อนก็ได้ เพราะนอกจากเราจะได้ใช้ความรู้ด้านวิศวะแล้ว เราก็จะได้ทักษะอื่นๆ เพิ่มขึ้นมาด้วย เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะการขาย ทักษะการบริหารจัดการ การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ สิ่งเหล่านี้แหละ คือจุดเชื่อมโยงที่จะพาเราไปหางาน Digital Marketing ได้ง่ายขึ้น ซึ่งปัจจุบันในหลายๆ บริษัทฯ เขาอาจจะไม่ได้มองหาคนที่มีประสบการณ์ตรงเพียงอย่างเดียว แต่เขามองหาคนที่มี Soft Skill ด้วย ก็คือทักษะทางสังคมที่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ซึ่งเขาอาจจะระบุความต้องการมาในตำแหน่งเลยด้วยซ้ำว่าเขาต้องการคนที่มี Soft Skill แบบไหน เพราะฉะนั้น อันนี้ก็เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่อยากเปลี่ยนสายงานแบบข้ามสายงานไปเลย ลองเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องซักปีสองปี ก็จะทำให้เพิ่มโอกาสในการได้งานมากขึ้น

แล้วคนที่ไม่อยากรอล่ะ?

แต่สำหรับใครที่ไม่อยากรอ ไม่อยากไปทำงานที่อื่น อยากเปลี่ยนสายงานทันทีเลย ออร์คิดจ๊อบก็จะแนะนำให้น้องๆ เพิ่มโอกาสให้ตัวเองโดยการไปเรียน ไปหาทักษะใหม่ๆ เพิ่มเติม หรือเรียกว่าไป Upskill ตัวเอง ให้มีทักษะตามที่นายจ้างต้องการ เช่น จากงานวิศวะ เราอยากไปทำ Digital Marketing เราก็ไปดูก่อนเลยว่า Requirement ของนายจ้าง เขาต้องการคนที่มีประสบการณ์หรือมีทักษะแบบไหน เช่น เขาอยากได้คนที่ใช้ เทคโนโลยี AI เป็น หรืออยากได้คนที่ยิง AD โฆษณาได้ เราก็อาจจะไปลงเรียนคอร์สสั้นๆ เกี่ยวกับการใช้ AI หรือ การบริหารจัดการโฆษณาออนไลน์  ซึ่งปัจจุบันก็มีหลักสูตรที่เปิดสอนเยอะแยะมากมาย จะเรียนทางออนไลน์ก็ได้ หรือเป็นหลักสูตรในมหาวิทยาลัยก็ได้ ยิ่งถ้าได้ใบ Certificate ด้วยก็ยิ่งดี นี่ก็ถือเป็นทางลัดอีกวิธีหนึ่ง ที่จะทำให้ Resume ของเราดูน่าสนใจมากขึ้น แล้วผู้สัมภาษณ์ก็อาจจะมองไปถึงเรื่องความพยายาม ความตั้งใจ ที่เราอยากจะทำงานนี้จริงๆ ด้วย

ทีนี้พอเราได้เข้าไปสัมภาษณ์งานจริงๆ แล้ว คำถามแรกที่ต้องเจอแน่นอนคือ “ทำไมคุณถึงอยากเปลี่ยนสายงาน”

ความสำคัญของคำถามนี้นะ แน่นอนว่าผู้สัมภาษณ์ต้องการรู้เหตุผลที่เราอยากทำงานนี้ และความคาดหวังของเราที่มีต่องาน คิดว่างานนี้ต้องทำอะไรบ้าง และเราชอบส่วนไหนของงานนี้

ซึ่งคำตอบก็อาจจะเล่า Story ให้เขาฟัง ว่าเราไปทำอะไร หรือเจออะไรมาที่เกี่ยวข้องกับงานนี้บ้าง แล้วชอบตรงไหนของงานนี้ รวมถึงอะไรที่ทำให้เรามั่นใจว่าเราจะสามารถทำงานนี้ได้ ออร์คิดจ๊อบมีตัวอย่างให้อ่านกัน

สมมุติว่าเรียนจบเภสัช แต่อยากมาสมัครงาน Content Creator จะตอบคำถามนี้ยังไงดี?

จากคำตอบนี้จะเห็นว่าเราได้ขมวดรวมไปหมดแล้วว่า จุดเปลี่ยนที่ทำให้เราอยากเปลี่ยนสายงาน เราชอบอะไรในงานนี้ และทำไมเราถึงมั่นใจว่าเราจะทำงานนี้ได้ พูดให้เห็นถึงทักษะที่เรามี ที่จะนำมาใช้กับงานนี้ได้ หรือถ้าใครเคยมีผลงานเกี่ยวกับสายงานด้านนี้มาก่อนก็นำออกมาโชว์ได้เลย และทิ้งท้ายว่าเราพร้อมจะเรียนรู้นะ แม้ว่าเราจะไม่ได้มีประสบการณ์ตรงก็ตาม อันนี้ทุกคนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในคำตอบของตัวเองกันได้เลย

อีกหนึ่งคำถามที่อาจจะต้องเจอก็คือ “ไม่เสียดายงานเดิม หรือสิ่งที่เรียนมาเหรอ”

ความสำคัญของคำถามนี้ก็คือ เขาอยากจะเห็นถึงความคิดและการตัดสินใจของเรา ว่าอะไรที่ทำให้เราอยากข้ามสายงานมาทำงานนี้ และเรามีความตั้งใจจริงมากแค่ไหน

ข้อนี้ให้เราพูดถึงทักษะและประสบการณ์ที่เราได้จากการเรียนการทำงาน ว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานที่เราสมัครอย่างไรได้บ้าง และมองเห็นภาพอนาคตของตัวเองยังไง ลองมาดูตัวอย่างกัน

เป็นยังไงกันบ้าง จริงๆ แล้วการสมัครงานแบบไม่ตรงสายก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพียงแต่เราจะต้องหาจุดแข็งของตัวเองให้เจอ และเพิ่มทักษะใหม่ๆ ที่จำเป็นเกี่ยวกับงานที่เราต้องการจะไปสมัคร สุดท้ายก็อยากให้น้องๆ มั่นใจเข้าไว้ เชื่อว่าตัวเองทำได้ และหมั่นศึกษาเรียนรู้พัฒนาตัวเอง ออร์คิดจ๊อบเชื่อว่าทุกคนจะต้องประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน